กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหกรรมอาหารสะอาดปราศจากสารเคมี ชีวีปลอดภัย ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ฝาละมี

ชมรม อสม. ตำบลฝาละมี

1. นายนิยมบุญเฟื่อง
2. นางบุญพาพรหมแก้ว
3. นางเพียร กวดขัน
4. นางสมจิตรเอียดมาก
5. นางสุกัญญา เพ็ชรจำรัส

ทุกหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลฝาละมี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

 

80.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

 

35.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

20.00
4 ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

 

30.00
5 ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

 

25.00

ประชากรในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านฝาละมีส่วนใหญ่มีอาชีพพื้นฐานอยู่ในภาคเกษตรกรรม ทำงานที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัด ท่าทางการทำงานที่มีความเสี่ยงต่อการปวดหลังและกล้ามเนื้ออักเสบ รวมทั้งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพมีพิษทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูท ป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้นยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นตำบลฝาละมีเป็นพื้นที่ ที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวนยางพาราทำนา และทำสวนปาล์มผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ จากข้อมูลดังกล่าวชมรม อสม. ตำบลฝาละมี จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมอาหารสะอาดปราศจากสารเคมี ชีวีปลอดภัย ประจำปี 2568 ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป และได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการดำเนินงานอาหารปลอดภัยในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

20.00 15.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

35.00 45.00
3 เพื่อลดคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัด เป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

ร้อยละของคนในชุมชนที่ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานจัดเป็นประจำ (มากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์)

30.00 20.00
4 เพื่อเพิ่มพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์

ร้อยละของพื้นที่เกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เมื่อเทียบกับพื้นที่เกษตรทั้งหมด

25.00 35.00
5 เพื่อลดประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

ร้อยละของประชาชนที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือดเกินมาตรฐานความปลอดภัย

80.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 300
กลุ่มผู้สูงอายุ 300
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมค้นหากลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการในที่ประชุมประจำเดือน อสม. เพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมาย -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กำหนด ผลลัพธ์ -กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเฝ้าระวังการสัมผัสสารเคมีตกค้าง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างของกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 ครั้ง

-ให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากสารเคมีในชีวิตประจำวัน ค่าใช้จ่าย 1.ชุดหายาฆ่าแมลงในเลือดเกษตรกร (กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส)พร้อมอุปกรณ์ 10 ชุดๆ ละ 100 ชิ้น ราคา 1,800 บาท จำนวน 10 ชุด เป็นเงิน 18,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมผู้จัด จำนวน 300 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท 3.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3 ชั่วโมง จำนว5ครั้ง เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต -ผู้เข้าร่วมได้รับการคัดกรองตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด และได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากสารเคมีตกค้าง ผลลัพธ์ -ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้่ไปปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงของการมีสารเคมีตกค้างได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34500.00

กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลดสารเคมี ในกระแสเลือด และปลูกผักปลอดสารเคมี

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไป ในการลดสารเคมี ในกระแสเลือด และปลูกผักปลอดสารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทั่วไปในการป้องกันสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด และการปลูกผักปลอดสารเคมีโดยใช้วัสดุในพื้นที่เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ผสมเอง เช่น มูลสัตว์,แกลบดำ,ขุยมะพร้าว,ยูเรีย,รำและกากน้ำตาล/พันธ์ผักต่าง ๆ เพื่อประกอบอาหารกับตนเอง/คนในชุมชนทุกอายุ/เพิ่มรายได้ต่อครัวเรือน/ปลอดโรค รายละเอียด
โยมี ค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม รวมผู้จัด จำนวน 300 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 7,500 บาท
  2. ค่าวัสดุสาธิตการผลิตปุ๋ย น้ำหมักชีวภาพจำนวน 300 ชุด ละ 60 บาทเป็นเงิน18,000 บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 3ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการลดการใช้สารเคมีเพื่อป้องกันสารเคีมีตกค้างในกระแสเลือด และมีความรู้และความสามารถ ในการปลูกผักปลอดสารเคมีได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27300.00

กิจกรรมที่ 4 จัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูล และสรุปบทเรียน การดำเนินงานอาหารปลอดภัย การประกวดเมนูสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูล และสรุปบทเรียน การดำเนินงานอาหารปลอดภัย การประกวดเมนูสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดเวทีประชาคมเพื่อคืนข้อมูล และสรุปบทเรียน การดำเนินงานอาหารปลอดภัย มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายในการจัดนิทรรศการ สรุปผลเรียน ผลการดำเนินงานจำนวน 5 ชุด ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้ร่วมประชุม จำนวน 300 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน15,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้ร่วมประชุม จำนวน 300 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 21,000 บาท (อาหารเสริม เครื่องดื่ม)
  4. ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม ของขวัญรางวัล การประกวดเมนูสุขภาพจำนวน 9,200 บาท

5.ค่าเช่าเหมาเต็นท์ พร้อมโต๊ะเก้าอี้ จัดนิทรรศการ จัดประชุม จำนวน1ชุดๆ 15,000 บาทเป็นเงิน 15,000 บาท

6.ค่าไวนิลป้ายโครงการ เป็นเงิน 3,000 บาท


7. ค่าเช่าเหมาเวที พร้อมระบบแสงสว่างการจัดกิจกรรมจำนวน 10,000 บาท

  1. ค่าเช่าเหมาเครื่องเสียง จำนวน 1 ครั้งๆละ 4,000 บาท เป็นเงิน จำนวน 4,000 บาท

  2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาทจำนวน 6ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-  ประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.บ้านฝาละมี เกิดความรู้ ความเข้าใจ ต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน -  ประชาชนในพื้นที่ รพ.สต.บ้านฝาละมี ทราบสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของปัญหาการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
95800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 157,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนทั่วไปกลุ่มเสี่ยง
2.ประชาชนมีทักษะและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเกิดโรคจากสารเคมี
3.ประชาชนได้รับการบริโภคผักปลอดภัย
4. ประชาชนในพื้นที่ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกันในการดำเนินการอาหารปลอดภัยในชุมชน


>