แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคดบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO)รายงานว่า ในปี 2555 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422 ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการกำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2567 พบว่า จังหวัดพัทลุง มีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95 อำเภอปกพะยูน มีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกายจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.บ้านฝาละมีพบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,615 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,521 คนคิดเป็นร้อยละ 94.18เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 0.94ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 87 คนคิดเป็นร้อยละ 49.15สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง พบว่า ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,396 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,305 คนคิดเป็นร้อยละ 93.48เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 322 คน คิดเป็นร้อยละ 79.51 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝาละมีจึงจัดทำโครงการรณรงค์การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ตำบลหารเทา ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2สเพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้
-
1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลงขนาดปัญหา 45.00 เป้าหมาย 35.00
-
2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลงขนาดปัญหา 64.00 เป้าหมาย 50.00
-
3. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลงขนาดปัญหา 12.00 เป้าหมาย 7.50
-
4. เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวายตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลงขนาดปัญหา 7.50 เป้าหมาย 5.00
- 1. อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพ ในทักษะการคัดกรอง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส.รายละเอียด
ประชุมชี้แจแกนนำสุขภาพ. ในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุ ประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทบทวน ฝึกปฏิบัติการตรวจคัดกรองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ.2 ส.
1. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 2 คนและผู้เข้ารับการอบรม50 คน จำนวน 1มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
2. ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 1 คนๆ ละ 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800 บาทงบประมาณ 3,300.00 บาท - 2. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หอกระจายข่าว เวทีประชุมต่างๆของหมู่บ้าน และป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือสร้างกระแสในการสร้างสุขภาพรายละเอียด
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หอกระจายข่าว เวทีประชุมต่างๆของหมู่บ้าน และป้ายประชาสัมพันธ์
ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ และรณรงค์โครงการ พร้อมกรอบไม้ จำนวน 3 ป้ายๆละ 870 บาท เป็นเงิน 2,610 บาท
งบประมาณ 2,610.00 บาท - 3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายละเอียด
จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการคัดกรองโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง
- ค่าจัดทำเอกสาร/แบบคัดกรองโรคฯ จำนวน 700 ชุดๆ 1 บาทเป็นเงิน700 บาท
-เครื่องตรวจระดับน้ำตาล 3 เครื่องละ 2,000 บาท เป็นเงิน6,000 บาท
- แถบตรวจระดับตาลในเลือด(50 ชิ้น/กล่อง) กล่องละ 861 บาท จำนวน 15 กล่อง เป็นเงิน 12,915 บาท- เครื่องวัดวามดันโลหิตแบบแสดงภาวะหัวใจ 3 เครื่องๆ ละ 4,500 บาท เป็นเงิน 13,500 บาท
งบประมาณ 33,115.00 บาท - 4. ออกดำเนินการตรวจคัดกรองในพื้นที่ และให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองรายละเอียด
ออกดำเนินการตรวจคัดกรองในพื้นที่ และให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรอง มีค่าใช้จ่ายดังนี้
- ค่าจัดทำเอกสารแบบประเมินความรู้ และพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง จำนวน 65 ชุดๆ ละ15บาทเป็นเงิน 975บาทงบประมาณ 975.00 บาท - 5. กิจกรรมสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพรายละเอียด
กิจกรรม 1.ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
2.จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์สุขภาพโดยการออกกำลังกายแอโรบิค หรือบาสโลบไลน์เด้นท
3.ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักษ์สุขภาพโดยการรณรงค์การออกกำลังกายและตรวจสุขภาพจำนวน 2 ครั้งงบประมาณ 0.00 บาท - 6. ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวานรายละเอียด
กิจกรรม 1.ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการคัดกรองภายใน 180 วัน
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ตำบลหารเทา
รวมงบประมาณโครงการ 40,000.00 บาท
1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95 2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 4. เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน มีภาวะแทรกซ้อนลดลง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา รหัส กปท. L3339
อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................