กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขจากภาวะอุทกภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นางสาวนูรียะ วาเต๊ะ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อุทกภัยเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ซึ่งส่งผลกระทบและความเสียหายขึ้นมากมาย ได้แก่ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเกิดความสูญเสียด้านทรัพย์สิน เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพมากมายอย่างฉับพลันและรวดเร็ว ถือเป็นภาวะวิกฤตและภาวะอันตราย ฤดูฝนเป็นฤดูที่อากาศเปลี่ยนแปลงจากความร้อนสู่ความชื้น เป็นช่วงที่เชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสทั้งหลายเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วกว่าฤดูอื่น ๆ จึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ โรคที่พบบ่อยในฤดูฝนจะมี 3 กลุ่มโรค ประกอบด้วย 1. กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยที่สุด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบหรือปวดบวม 2. กลุ่มโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร น้ำ และการสัมผัส พบบ่อยที่สุด เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคมือเท้าปาก โรคไข้ฉี่หนู3. กลุ่มโรคที่เกิดจากยุงและสัตว์อื่น ๆ ที่เป็นพาหะพบบ่อย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา โรคติดเชื้อไวรัสซิกา
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบานา จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขจากภาวะอุทกภัยขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ ในกรณีที่เกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ ได้สะดวก รวดเร็ว และทันเหตุการโดยจัดทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและแกนนำในพื้นที่ตำบลบานา ลงพื้นที่ในการดูแลสุขภาพป้องกันโรคแก่ประชาชน อีกทั้งให้การสนับสนุนชุดยาสามัญประจำบ้านที่จําเป็นให้แก่ครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้และความตระหนักในการป้องกัน ดูแลสุขภาพ ลดการเจ็บป่วย และลดการเกิดโรคติดต่อต่าง ๆ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมได้รับการป้องโรค

ร้อยละ 70 ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถดูแลตนเองในสถานการณ์น้ำท่วมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 29/11/2024

กำหนดเสร็จ : 27/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุุทกภัย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุุทกภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ผู้ปฏิบัติงานหรือจิตอาสาช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือผู้ประสบภัยที่อยู่ในน้ำท่วมขังเป็นเวลาหลายวันลงพื้นที่ตรวจสอบครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ

  • ค่ารองเท้าบูทกันน้ำ จำนวน 40 คู่ x 250 บาท เป็นเงิน 10,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤศจิกายน 2567 ถึง 15 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 ลงพื้นที่ติดตาม ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ

ชื่อกิจกรรม
ลงพื้นที่ติดตาม ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.มอบชุดยาสามัญประจำบ้าน

2.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วมและการทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด ผ่านผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถื่น และเสียงตามสายต่างๆ

  • ค่าชุดยาสามัญประจำบ้านพร้อมบรรจุกล่องจำนวน 300 ชุดๆละ 180.-บาท เป็นเงิน 54,000.-บาท

  • ค่าเวชภัณฑ์ยาออกหน่วยน้ำท่วม เป็นเงิน 11,240.-บาท

  • ถุงมือยาง จำนวน 2 กล่อง x 180 บาท เป็นเงิน 360.-บาท

  • ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 4 เมตร จำนวน 2 ผืน x 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 พฤศจิกายน 2567 ถึง 27 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมหรือภัยพิบัติได้รับการส่งเสริมป้องกันโรคทันต่อเหตุการณ์

2.ประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมหรือภัยพิบัติที่ป่วยหรือบาดเจ็บได้รับการรักษาทันท่วงที


>