กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนสดใส ห่างไกล NCD ด้วยหลัก 3อ. 2ส.

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน

1. นางอารี พิทักษ์ธรรม
2. นางสุรินทร์ บัวศรี
3. นางจุไรพร คำมา
4. นางสุดาวดี พรหมจันทร์
5. นางมลทิพย์ แก้วมณี

ม.6 ต.หารเทา อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ ซึ่งจากการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอนและการดำเนินงานเกี่ยงกับโรคไม่ติดต่อของอสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอนนั้น พบว่ามีผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง
ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นภัยเงียบต่อสุขภาพที่ไม่แสดงอาการ โดยเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือด โดยผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง จึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม เป็นต้น ซึ่งทางโรงพยาบาลปากพะยูน ได้จัดโครงการตรวจสุขภาพประชาชนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัว อายุ 45-70 ปี ในการตรวจเช็คสภาวะไขมันในเลือด ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน ได้ดำเนินการเจาะเลือดให้แก่ประชาชนที่มีความสนใจ ปรากฏว่า ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 125 คน มีภาวะไขมันในเลือดสูงจำนวน 89 คน คิดเป็นร้อยละ 71.2 ซึ่งการควบคุมไขมันในเส้นเลือดทำได้โดยยาก ผู้ป่วย ผู้ป่วยต้องมีระเบียบวินัยเป็นอย่างมาก โดยใช้หลัก 3 อ. 2 ส. มีการควบคุมอาหาร และเผาผลาญไขมันด้วยการออกกำลังกาย
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไทรพอน ตำบลดอนประดู่จึงต้องการจัดโครงการเพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และรู้เท่าทันโรค NCDs และเชิญชวน รณรงค์ ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง เข้าสู่การดูแลสุขภาพ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. 1. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
1.2. ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองตามหลัก 3อ. 2ส.

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมให้ความรู้สู่ประชาชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้สู่ประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมให้ความรู้สู่ประชาชนชน แบ่งออกเป็นกิจกรรม 4 กิจกรรม ดังนี้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กิจกรรมรู้เท่าทัน โรคเรื้อรัง : เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ห่างไกลโรคเรื้อรัง :
- ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท
- วัสดุ และอุปกรณ์สาธิตสำหรับดำเนินโครงการ - เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง เครื่องล่ะ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าไวนิลจัดโครงการ ขนาด 1*3 เมตร ตารางเมตรละ 170 บาท เป็นเงิน 510 บาท
2. จัดกิจกรรมอาหาร เป็นยา : เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องการทานอาหารตามหลักโภชนาการ - ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500บาท 3. กิจกรรมออกกำลังกายส่งเสริมสุขภาพ โดยโยคะและวิธีการกำหนดลมหายใจ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 ชุด ชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 3,500บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์สาธิตเป็นเงิน 1,000 บาท ได้แก่
- เสื่อโยคะสาธิต จำนวน 2 ผืน ผืนละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
- หนังยางวง ขนาด 500 กรัม จำนวน 2 ห่อ ห่อละ 150 บาท เป็นเงิน 300 บาท
4.กิจกรรมบำบัดอารมณ์ โดยสมุนไพรรักษาใจ : เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่องสมุนไพรรักษาสุขภาพ
- ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน 1,800 บาท
- เมนทอล จำนวน 500 กรัม เป็นเงิน 500 บาท
- พิมเสน จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 300 บาท
- การบูร จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 200 บาท
- พริกไทยดำ จำนวน 100 กรัม เป็นเงิน 50 บาท
- กานพลูดอก จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 200 บาท
- ดอกจันทน์เทศ จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 150 บาท
- โป๊ยกั๊ก จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 80 บาท
- อบเชยเทศ จำนวน 150 กรัม เป็นเงิน 70 บาท
- น้ำมันยูคาลิปตัส 45 ml เป็นเงิน 150 บาท
-ผ้าขาว เป็นเงิน 100 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17460.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,460.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงมีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นและมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงาร


>