กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

กลุ่มสตรีตำบลกายูคละ

1.นางสาวรุสลีณา สังยวน
2.นางสาวเจ๊ะรอสนานิง โอล่า
3.นางสาวตอรีฮะ ยาลี
4.นางสาวมารียา ยูโซ๊ะ
5.นางสูรีนา เจ๊ะอาแซ

ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักโภชนาการคือหลักการในการบริโภคอาหาร โดยเราควรบริโภคอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน ในปริมาณที่ไม่มากไม่น้อยเกินไปในแต่ละวัน เพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และความมีสุขภาพที่ดี
ปัจจุบัน อุบัติการณ์ของภาวะน้ำหนักตัวเกิน (overweight) และโรคอ้วน (obesity) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อน สาเหตุที่สำคัญส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดคือ การบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงมากขึ้นและ ออกกำลังกายน้อยลง ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนไม่เพียงทำให้รูปร่างไม่ดี แต่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้แก่ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (อาจทำให้ให้เป็นเบาหวานในอนาคต) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (มีอาการหยุดหายใจตอนหลับทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองลดลง) ไขมันในเลือดสูง (ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด การทำงาน ของปอดและหัวใจผิดปกติ ตับอักเสบจากการมีไขมันสะสมที่ตับ ปัญหาปวดข้อและปัญหาทางจิตใจ ดังนั้น ผู้ที่ภาวะน้ำหนักตัวเกินและผู้ป่วยโรคอ้วนต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและวัยรุ่นที่อ้วนและกำลังเจริญเติบโต ซึ่งควรได้รับการดูแลรักษา เพื่อควบคุมน้ำหนักให้รูปร่างสมส่วน และมีการเจริญเติบโตสมวัย ดังนั้น การได้รับสารอาหารครบถ้วน เพียงพอ และเหมาะสมตามวัยตั้งแต่แรกเกิด ร่วมกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการใช้วิถีชีวิตอย่างฉลาดและถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการมีสุขภาพกายที่แข็งแรง และควบคุมน้ำหนักให้รูปร่างสมส่วน และมีการเจริญเติบโตสมวัย
กลุ่มสตรีตำบลกายูคละ จึงได้จัดทำโครงการโภชนาการดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ประชาชนในตำบลกายูคละ มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำความรู้การบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 100

300.00 300.00
2 เพื่อสร้างความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของคนในครอบครัวที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของคนในครอบครัวที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี ร้อยละ 100

300.00 300.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะด้านโภชนาการแก่ประชาชนทั่วไป

ประชาชนในพื้นที่ตำบลกายูคละ สามารถพัฒนาศักยภาพและมีทักษะด้านโภชนาการ ร้อยละ 80

300.00 300.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชนิดกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ด้านอาหารและโภชนาการ ฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้
งบประมาณ (จัดอบรม 2 รุ่นๆละ 150 คน) 1.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 12 ชั่วโมงๆละ 600 บาท = 7,200บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 70 บาท จำนวน 2 มื้อ = 21,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คนๆละ 4 มื้อๆละ 30 บาท = 18,000 บาท
4.ค่าป้ายไวนิลจำนวน1 ผืน (ขนาด 3 x 1.25)= 1,500 บาท
5.ค่าวัสดุ เครื่องเขียน อุปกรณ์ จำนวน 150 ชุดๆละ 100 บาท (กระเป๋าผ้า+สมุด+ปากกา) = 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มกราคม 2568 ถึง 28 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านอาหารและโภชนาการและสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว และชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
62700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 62,700.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยรายจ่ายได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอ เอื้อต่อการมีภาวะโภชนาการที่ดี เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
2. ผู้เข้ารับการอบรมความรอบรู้ในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการของคนในครอบครัวที่เอื้อต่อการปรับเปลี่ยนและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี
3. ผู้เข้ารับการอบรมมีศักยภาพและเสริมทักษะด้านโภชนาการแก่ประชาชนทั่วไป


>