กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ พ.ศ.2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

สถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดสตูล

นางอัสมา เหล็มนุ้ย โทร 089-9786994

เรือนจำจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ต้องขังที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์ 35 ปีขึ้นไปเพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

500.00

นโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีเป้าหมายที่สำคัญคือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทั้งในแง่เรื่องการส่งเสริมสุขภาพสร้างนำซ่อมควบคู่กับการรักษาพยาบาลเพื่อลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว กระบวนการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นกลไกสำคัญเพื่อให้ประชาชนห่างไกลโรค เน้นการให้บริการเชิงรุกโดยให้ความสำคัญต่อเหตุปัจจัยของการเกิดโรค ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป
กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อ) เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทยทั้งในแง่ภาระโรคและอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (30-69 ปี)จากโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง , โรคหัวใจขาดเลือด , โรคเบาหวาน , ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้อรัง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 ถึงปีพ.ศ.2564 หลังจากนั้นคงที่ในปี พ.ศ.2566 โดยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรสูงที่สุดเท่ากับ 44.3 รายต่อประชากรแสนคน และอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรด้วยโรคหลอดเลือดสมองในเพศชายมากว่าเพศหญิง ดังนั้นสถานพยาบาลเรือนจำจังหวัดสตูลได้ตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพ ในผู้ต้องขังที่มีอายุ 30 ปี ขึ้นไปเพื่อป้องกัน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน จึงได้ทำโครงการคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดสตูล ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อคัดกรองผู้ต้องขัง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่
ข้อมูลยอดผู้ต้องขัง ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในผู้ต้องขังเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสียงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง

500.00 500.00
2 ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน ที่มีผลเลือดผิดปกติ ได้รับการส่งต่อ

ร้อยละ 100 ของผู้ต้องขังที่มีผลเลือดผิดปกติ ค่าความดันโลหิตผิดปกติ และค่า BMI ผิดปกติ ได้เข้าระบบการรักษาต่อเนื่องกับรพ.แม่ข่าย

0.00 100.00
3 อบรมให้ความรู้ในการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.)

ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมายได้การอบรมให้ความรู้

30.00 29.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ต้องขังอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้น 500
อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคอ้วนระยะรุนแรง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง/โรคอ้วนระยะรุนแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการคัดกรองเชิงรุก (Active screening) โดยดำเนินการดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง โดยพยาบาลเรือนจำฯ/เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและอสรจ. เข้าดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง ในแต่ละแดน รวม 4 แดน (ทุกแดน) ด้วยการวัดสัญญาณชีพ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว การเจาะเลือดปลายนิ้ว และการคำนวณ BMI และ การแปลผล
กิจกรรมที่ 2 การประเมินผลการจัดกิจกรรมและส่งต่อผู้ต้องขังกลุ่มป่วยเข้าระบบการรักษาต่อเนื่องกับโรงพยาบาลสตูล (โรงพยาบาลแม่ข่าย)
งบประมาณ
- ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 2,500 บาท เป็นเงินจำนวน 10,000 บาท
- ค่าจัดซื้อเครื่องตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 1,100 บาท เป็นเงินจำนวน 4,400 บาท
- ค่าจัดซื้อแผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 20 กล่อง กล่องละ 300 บาทเป็นเงินจำนวน 6,000 บาท
- ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 3 กล่องๆละ 600 บาท (200ชิ้น/กล่อง) เป็นเงินจำนวน 1,800 บาท
- ค่าสำลีแอลกอฮอร์บอล (Alcohol cotton ball) จำนวน 10 กล่อง กล่องละ 120 บาท (กล่อง/12 แผง/8 ชิ้น) เป็นเงินจำนวน 1,200 บาท
- เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล จำนวน 4 เครื่อง เครื่องละ 1,500 บาท เป็นเงินจำนวน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 2 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.การคัดกรองเชิงรุก ช่วยค้นหาผู้ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค ทำให้สามารถเริ่มการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
2.ลดจำนวนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ผู้ป่วยจำนวนมากอาจมีภาวะเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงโดยไม่มีอาการ การคัดกรองช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่ได้รับการรักษา
3.เกิดการป้องกันและชะลอการเกิดโรค โดยสามารถระบุบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ทำให้สามารถให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงได้
4.ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อทราบผลการคัดกรอง บุคคลจะตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการลดน้ำหนัก
5.ชะลอการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงสามารถช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
6. การลดภาวะแทรกซ้อน:ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นประสาท และปัญหาเกี่ยวกับดวงตา
7. ลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน: ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว การคัดกรองและการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องช่วยควบคุมโรคและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรงในผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยง วันที่ 1
08.30-09.50 น.ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. อบรมอภิปรายให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง(จำนวน 3 ชั่วโมง)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00-16.00 น. อบรมอภิปรายให้ความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องการปรับพฤติกรรมลดหวาน มัน เค็ม และการออกกำลังกาย (จำนวน 3 ชั่วโมง)
วันที่ 2
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง (จำนวน 3 ชั่วโมง)
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรง (จำนวน 3 ชั่วโมง)
วันที่ 3
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เชิงวิชาการ เรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาหารโรคความดันโลหิตสูง และอาหารโรคอ้วนระยะรุนแรง(จำนวน 3 ชั่วโมง)
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาหารโรคความดันโลหิตสูง และอาหารโรคอ้วนระยะรุนแรง (จำนวน 3 ชั่วโมง)
วันที่ 4
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรค(จำนวน 3 ชั่วโมง)
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.00 - 16.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่องโภชนาการลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรค (จำนวน 3 ชั่วโมง)
วันที่ 5
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-12.00 น. อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การเสริมสร้างพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค(ผู้จัดโครงการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม)
12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารเที่ยง
13.00 - 16.00 น. ทบทวนอภิปรายความรู้เชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างพลังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค (ผู้จัดโครงการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม)

งบประมาณ ดังนี้
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.5 ม. x 3.0 ม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงินจำนวน 675 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 24 ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ชุดละ 25 บาท จำนวน 30 ชุด 8 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
- ค่ากระดาษ A4 80 แกรม จำนวน 2 กล่อง กล่องละ 595 เป็นเงิน 1,190 บาท (สำหรับถ่ายเอกสารคู่มือการอบรม และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องภายในโครงการ)
- ค่ากระดาษทำเกียรติบัตร A4 200 แกรม จำนวน 1 แพ็ค 50 แผ่น แพ็คละ 260 บาท เป็นเงิน 260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2568 ถึง 9 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ต้องขังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง และเกลือสูง ส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
  2. ผู้ต้องขังมีเทคนิคในการการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น การเลือกโปรตีนจากแหล่งที่ดี, การใช้สมุนไพรแทนน้ำตาลหรือเกลือ
  3. ผู้ต้องขังสามารถรควบคุมพฤติกรรมการกิน เช่น การอ่านฉลากโภชนาการ, การวางแผนมื้ออาหาร
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15325.00

กิจกรรมที่ 3 การติดตามประเมินผลการรักษาและส่งต่อผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
การติดตามประเมินผลการรักษาและส่งต่อผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. พยาบาลเรือนจำฯ ส่งรายชื่อผู้ต้องขังที่มีผลเลือดผิดปกติ ค่าความดันโลหิตผิดปกติ และค่า BMI ผิดปกติ ให้กับรพ.แม่ข่าย (โรงพยาบาลสตูล) เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยแพทย์อย่างต่อเนื่อง
  2. ติดตามผลการรักษาระหว่างเรือนจำและโรงพยาบาลแม่ข่ายอย่างต่อเนื่อง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและโรคอ้วน โดยมีผลเลือดผิดปกติ ค่าความดันโลหิตผิดปกติ และค่า BMI ผิดปกติ ได้เข้าระบบการรักษาต่อเนื่องกับรพ.แม่ข่าย (โรงพยาบาลสตูล)
  2. ผู้ต้องขังได้รับการตรวจติดตามและส่งต่อเพื่อเข้าสู่กระบวนการยืนยันวินิจฉัยและติดตามผลการวินิจฉัยที่ส่งกลับมายังเรือนจำ
  3. เชื่อมต่อระบบข้อมูลผู้ต้องขังป่วยระหว่างเรือนจำและโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนให้เกิดการส่งต่อและรับกลับที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์แก่ผู้ต้องขังมากขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,725.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) มีความรู้ความเข้าใจขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดัน
โลหิตสูงและโรคอ้วนระยะรุนแรง รวมทั้งสามารถช่วยดูแลผู้ต้องขังกลุ่มป่วยได้อย่างถูกต้อง
2. ผู้ต้องขังกลุ่มอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอ้วนระยะรุนแรง
3. ผู้ต้องขังกลุ่มป่วยได้รับการส่งต่อเข้าระบบการรักษากับโรงพยาบาลแม่ข่าย
4. ผู้ต้องขังกลุ่มเสี่ยง สามารถดูแลตนเองได้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอ้วนระยะรุนแรง
5. ผู้ต้องขังที่ได้รับการตรวจคัดกรองพบมีความผิดปกติ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนระยะรุนแรงมีความรู้ความเข้าใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรค


>