กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ศสม.ศรีพิมาน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน

1.นางสาวฮาลีฝะ ปะดุกา เบอร์โทร 0814787489
2. นางสาวฟารีซา เจะมะ เบอร์โทร 0957135187
3. นางนูรดีนี หมีดเส็น เบอร์โทร 0869662250

10 ชุมชนในตำบลพิมาน อำเภอมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ในเขตรับผิดชอบ ศสม. ศรีพิมาน ปี 2567(คน)

 

14.00
2 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบ ศสม. ศรีพิมาน ปี 2567(คน)

 

33.00
3 ผู้ป่วยเบาหวาน รายใหม่ ในเขตรับผิดชอบ ศสม. ศรีพิมาน ปี 2567(คน)

 

0.00
4 ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง รายใหม่ ในเขตรับผิดชอบ ศสม. ศรีพิมาน ปี 2567(คน)

 

4.00

ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมานได้ดำเนินการคัดกรองสุขภาพกาย/สุขภาพจิตประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ ปี 2567 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 14 ราย ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 23 ราย มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 4ราย และ ในปี 2568 ได้ดำเนินการคัดกรองสุขภาพกาย/สุขภาพจิตประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิต กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ซึ่งการค้นพบประชากรกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวถือว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการป้องกันและแก้ไขอย่างเร่งด่วนซึ่งประชากรกลุ่มเสี่ยงทั้ง 2 กลุ่มถ้าขาดความรู้และทักษะในการป้องกันโรคสามารถพัฒนามาเป็นผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไปได้ในอนาคตเพื่อเป็นการป้องกันกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ป่วย ศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน เล็งเห็นว่าการดำเนินงานเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคสำคัญที่สุดโดยนำกิจกรรมเน้นให้ความรู้ความเข้าใจสร้างความตระหนักรวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.

ผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ80 โดยใช้แบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

50.00 80.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาเป็นกลุ่มป่วยไม่เกินร้อยละ 5

0.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ และอสม. จัดทำข้อมูลสุขภาพ และจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ และอสม. จัดทำข้อมูลสุขภาพ และจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานของคณะทำงานจาก ศสม.และโรงพยาบาลสตูล ชี้แจงและจัดทำข้อมูลสุขภาพ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ 10 คน และ อสม.10คน รวมจำนวน 20 คน
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจงโครงการ จำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณสำหรับเจ้าหน้าที่ 10 คน ผู้เข้าร่วมโครงการ 30 คน
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม เจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนๆ ละ 2 มื้อ30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม เจ้าหน้าที่จำนวน 40 คนๆ ละ 1มื้อ
70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
3.ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 1 คน*300 บาท/ ชม *1 ชม เป็นเงิน 300 บาท
4.ค่าวิทยากรประจำฐาน(ฐานละ 2 คน จำนวน 3 ฐาน) จำนวน 6 คนๆละ 300 บาท/ ชม *2 ชม เป็นเงิน 3,600 บาท
5.ค่าจัดทำป้ายโครงการ 1 ชุดขนาด 2 เมตร X 1 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาทเป็นเงิน 300 บาท
6.ค่าเอกสารวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,500 บาท
กำหนดการอบรมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ศสม.ศรีพิมาน ปีงบประมาณ 2568
08.00 น. – 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
08.31 น. - 09.30 น. มารู้จักโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง กันเถอะ โดยวิทยากรด้านสาธารณสุข
09.31 น. –10.00 น. พิธีเปิดโครงการ
10.01 น. - 12.00 น. ให้ความรู้โดยแบ่งเป็นฐาน ดังนี้
ฐานที่ 1. วิธีการควบคุมอาหารและวิธีการจัดการอาหารด้วยตนเอง โดย วิทยากรด้านสาธารณสุข
ฐานที่ 2 บุหรี่ สุรา ภัยร้าย และการฝึกทักษะคลายเครียด โดยวิทยากรด้านสาธารณสุข
ฐานที่ 3 การออกกำลังกายแบบต่างๆ และรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง โดยวิทยากร
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.01 น. - 15.00 น. อภิปรายกลุ่ม ซักถามปัญหาหลังเข้าร่วมกิจกรรมและนำเสนอแผนการดูแลตนเองของสมาชิกกลุ่ม
15.01 น. - 16.00 น. ทำแบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ
หมายเหตุ รับประทานอาหารว่างเวลา 10.30 น. และเวลา 14.30น.
กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส.

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต ของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล
2.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย
งบประมาณ (สำหรับเจ้าหน้าที่ 10 คน กลุ่มเป้าหมาย 30 คน)
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าน้ำตาลในเลือดและค่าความดันโลหิตของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลภาวะสุขภาพของ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตที่เข้าร่วมโครงการจากแบบติดตามภาวะสุขภาพรายบุคคล สรุปผลระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ โดยใช้แบบประเมินของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข งบประมาณ
1. จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเล่มละ 250 บาท จำนวน 2 เล่ม เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 ฉบับ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลตนเองตามหลัก3อ2ส ได้อย่างถูกต้อง และเป็นแบบอย่างในการส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนได้
2. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
3. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
4. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จากกลุ่มเสี่ยงลดลง


>