กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ห่างไกลโรค NCD โดย อสม.รพ.สต.บ้านลำชิง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านลำชิง

เจือ ดำแก้ว
กาญจนา หมวดพรมทอง
ขยาย มณีรัตน์
โรสิต้า เส็นเหม๊าะ
สุวลักษณ์ยวงใย

หมู่ที่ 1,2,5 และ 8 ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

218.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

320.00

ปัจจุบันเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนจึงทำให้วิถีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง เช่น การเร่งรีบการทำงานบริโภคอาหารไม่คำนึ่งคุณค่าทางโภชนาการมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยขาดการออกกำลังกายเครียด ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข เป็นกลุ่มโรคทีมีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม โดยผลการดำเนินงานตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง ประจำปีงบประมาณ๒๕๖๘ มีกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองทั้งหมด จำนวน 2,145 คน ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง 908 คน พบกลุ่มเสี่ยง 243 คน กลุ่มสงสัยป่วย 77 คน ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 1,128 คน พบกลุ่มเสี่ยง 202 คน กลุ่มสงสัยป่วย 16 คน
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิง มีแนวโน้มกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นทุกปี กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำชิงจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน จึงได้ทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขกาย สุขใจ ห่างไกลโรค ประจำปี 2568 ขึ้นมาเพื่อให้ประชาชนได้รับความรู้ มีการเฝ้าระวัง จัดการสุขภาพของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต ตลอดจนป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น

40.00 40.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง

40.00 20.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพและจัดการสุขภาพของตนเอง

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพและจัดการสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น

40.00 40.00
4 เพื่อเสริมสร้างบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายเกิดเป็นบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

40.00 8.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยและสร้างความรอบรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพ
แบ่งเป็นฐานความรู้ 4 ฐาน ดังนี้

ฐานที่ 1 : รู้เรา รู้โรค

ฐานที่ 2 : อาหารดี ออกกำลังกายสักนิด

ฐานที่ 3 : สุขกาย สุขใจ สุขภาพดี

ฐานที่ 4 : ดูแลตัวเอง เพื่อตัวเอง


- ค่าไวนิลสื่อความรู้เรื่องโรคและการป้องกัน แบบ Roll up จำนวน 2 ชุด *1,800 เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าป้ายสแตนดี้ ขนาด 80 x 180 จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าวิทยากร 600 บ.x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 30 บ. x 40 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าคู่มือบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ40 เล่ม * 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9200.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์สร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์สร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชนเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

1.ค่าป้ายโฟมบอร์ด 300 บ. x 6 แผ่น เป็นเงิน1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายและประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพและจัดการสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย โดยอสม.ที่รับผิดชอบ ติดตามเดือนละ 1 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย โดยอสม.ที่รับผิดชอบ ติดตามเดือนละ 1 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อสม.ที่รับผิดชอบประจำกลุ่มติดตามตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิตวัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ประเมินดัชนีมวลกายลงบันทึกในสมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง (ติดตามทุก ๑ เดือนติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน)

  • ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลแบบพกพา 1เครื่อง x 3,500 บ. เป็นเงิน 3,500 บาท

  • ค่าเข็มเจาะน้ำตาล (200 ชิ้น/กล่อง ) x 1 กล่อง เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าแถบเจาะน้ำตาล 4 กล่อง x 500 บ. เป็นเงิน 2,000 บาท

  • ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต 2เครื่อง * 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 15 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยสามารถ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 4 บุคคลต้นแบบสุขภาพดี ห่างไกลโรค ์NCD

ชื่อกิจกรรม
บุคคลต้นแบบสุขภาพดี ห่างไกลโรค ์NCD
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มอบเกียรติบัตรบุคคลต้นแบบสุขภาพดี ห่างไกลโรค
  • สรุปผลการดำเนินกิจกรรมให้แก่ผู้ร่วมโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมายเกิดบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระดับความดันลดลง
3.กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง
4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
5.เกิดบุคคลต้นแบบสุขภาพดี ห่างไกลโรคในชุมชน


>