กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและสุขอนามัยเด็กปฐมวัยห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสะบ้า

โรงเรียนอนุบาลเกาะสะบ้า

โรงเรียนอนุบาลเกาะสะบ้า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อที่ 1 ฟันเป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นๆ ในร่างกายเลย แต่ส่วนมากแล้วคนทั่วไปมักจะละเลยการดูแลสุขภาพฟัน และไม่เห็นความสำคัญของฟันทั้งๆที่เราจำเป็นต้องใช้ฟันทำหน้าที่ต่างๆในทุกๆวัน “ฟัน” สำคัญกับเราอย่างไรบ้างนั้น เราลองไปทำความเข้าใจหน้าที่ของฟันพร้อมๆกัน ฟัน สำคัญมากเพราะมีหน้าที่ช่วยทำให้เราบดเคี้ยวอาหารได้ในทุกๆวัน ฟันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพูดและออกเสียงได้อย่างปกติ ทุกคนจะมีฟันด้วยกันอยู่ 2 ชุด
ก็คือ ฟันแท้และฟันน้ำนม หากเราไม่รู้จักดูแลตั้งแต่เล็กๆ การละเลยการแปรงฟันอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพโดยรวม ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ: แบคทีเรียจากปากอาจถูกสูดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ ปัญหาการย่อยอาหาร: สุขภาพช่องปากที่ไม่ดีอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งนำไปสู่ปัญหาระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 70
ข้อที่ 2ปัจจุบัน ประชาชนนิยมหาซื้อยามาใช้ด้วยตนเอง เพื่อการดูแลรักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่มักจะเกิดขึ้นได้ ยาสามัญประจำบ้านจัดว่าเป็นยาที่มีความปลอดภัยอย่างสูง ประชาชนสามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้านขายยา ศูนย์การค้า ร้ายขายของชำ มีขายทั้งในเมือง และตามชนบท มีความต้องการให้ยาสามัญประจำบ้าน แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องยา ร้อยละ 70
ข้อที่ ๓ ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่อุบัติซ้ำ การเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะภัยธรรมชาติได้ทวีความรุนแรงและความถี่มากขึ้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน นับเป็นปัญหาสาธารณสุขทั้งในระดับเขต ระดับชาติ และนานาชาติ ประกอบกับสถานะทางสุขภาพของมนุษย์มีความซับซ้อนมากกว่าแค่การเป็นโรคหรือไม่เป็นโรค เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบสูงต่อการการดำเนินชีวิตในปัจจุบันเราต้องระวังเรื่องสุขภาพ การล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หลังจากทำกิจกรรมต่างๆ สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ดีที่สุด การเฝ้าระวังและสังเกตอาการตัวเองนั้น นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสแล้ว หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายการติดเชื้อ ทำให้สามารถเข้ารับการตรวจและรักษาได้ทันท่วงทีอีกด้วยร้อยละ 70

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความรู้ในการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและผู้อื่นรอบตัวได้

นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษามีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง

70.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีรู้จักการรักษาสุขภาพภายในช่องปาก และฟันให้แข็งแรง

นักเรียน ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการรู้จักดูแลรักษาสุขภาพภายในช่องปาก และฟันให้แข็งแรงคิด

70.00 80.00
3 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รู้จักการใช้ยาสามัญประจำบ้านได้ถูกต้อง

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการ รู้จักการใช้ยาสามัญประจำบ้านได้ถูกต้องได้

70.00 80.00
4 เพื่อให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รู้จักการป้องกันและดูแลตนเอง จากโรคมือเท้าปาก และโรคติดต่อต่างๆ ได้

นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา รู้จักการป้องกันและดูแลตนเอง จากโรคมือเท้าปาก และโรคติดต่อต่างๆ ได้

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 57
กลุ่มวัยทำงาน 77
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 02/12/2024

กำหนดเสร็จ : 31/01/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ อบรมให้ความรู้ทันตสาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้ อบรมให้ความรู้ทันตสาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ อบรมให้ความรู้ทันตสาธารณสุข - องค์ประกอบของฟัน - ประโยชน์ของฟันแต่ละซี่ - การรักษาและการดูแลช่องปาก - โรคต่างๆ ในช่องปาก - ข้อดี ข้อเสียของการเคลือบฟัน - อื่นๆ งบประมาณ 1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 1 ชั่วโมงๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 2. ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2*2.4 ม. เป็นเงิน 576 บาท 3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (แปรงสีฟัน+ยาสีฟัน) จำนวน 57 ชุดๆละ 40 บาท เป็นเงิน 2,280 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง จำนวน 114 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,850 บาท 5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการฯ มีความรู้เรื่องฟัน การดูแลรักษาฟัน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6806.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย
- ประเภทและยาสามัญประจำบ้าน - หลักการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัย 2. สาธิตการใช้ยาอย่างถูกต้อง 3.การช่วยเหลือผู้ป่วยสำลักอาหารเข้าหลอดลม (สาธิตและให้เข้าอบรมทดลองปฏิบัติจริง) 4.การช่วยเหลือผู้ป่วยกินสารเคมีหรือสารแปลกปลอมอื่นๆ งบประมาณ 1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 1 ชั่วโมงๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 2. ชุดสาธิตยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 2 ชุดๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการฯ มีความรู้การใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างปลอดภัย ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการ โรคติดต่อต่างๆและการป้องกันโรค ที่เกิดกับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการ โรคติดต่อต่างๆและการป้องกันโรค ที่เกิดกับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรคต่างๆและการป้องกันโรค ที่เกิดกับเด็กปฐมวัย เช่น - โรค มือ เท้า ปาก - โรคไข้เลือดออก - โรคไอกรน - โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ งบประมาณ 1. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 2. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับการอบรม - กระเป๋า - แผ่นพับให้ความรู้การป้องกันโรคต่างๆ - สมุด
- ปากกา จำนวน 57 ชุดๆละ 100 บาท เป็นเงิน 5,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการฯ มีความรู้เรื่องโรค มือเท้าปาก โรคไขเลือดออก โรคไอกรน และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6300.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ไม่มีค่าใช้จ่าย-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,706.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการ มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ
2. เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการ มีทักษะในการป้องกันโรคมือเท้าปาก และโรคอื่นๆ
3. เด็กปฐมวัยในโรงเรียนมีการเจ็บป่วยน้อยลง
4.เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นและปลอดภัยจากโรค
5. เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ครู คณะกรรมการมีความรู้ในเรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน


>