2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงหัวใจหลอดเลือดสมอง มะเร็ง ฯลฯ เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าวซึ่งการบริการสุขภาพภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่งผลให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานที่จำเป็น รวมทั้งการบริการสุขภาพเพื่อป้องกันและควบคุมโรคเป็นสำคัญ โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้เช่น ความอ้วน ความเครียด การออกกำลังกาย พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนไม่สามารถควบคุมปัจจัยดังกล่าว ร่วมกับการมีอายุที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไปย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และต้องได้รับการรักษารับประทานยาตลอดชีวิต อีกทั้งหากมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น ข้อมูลจากการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงในกลุ่มเป้าหมายพบว่า สงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 1.2 สงสัยป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 5.84 ดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน (≥ 23 กก./ตร.ม.) ร้อยละ 37.10 คนรอบเอวเกินมาตรฐาน (ชายไม่เกิน 90 ซม. / หญิงไม่เกิน 80 ซม.) ร้อยละ 18.79 หากได้รับการรักษาที่ดีช่วยให้ลดผู้ป่วยรายใหม่และการป่วยด้วยโรคแทรกซ้อน
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดเล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริม กระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมาย ตระหนัก รับรู้ถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เป็นบุคคลที่มีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปการดูแลสุขภาพประชาชนวัยทำงานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุภาวะร่างกายมีความเสื่อมถอยตามอายุ มีภูมิต้านทานโรคต่ำลง มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย การที่จะดูแลสุขภาพเมื่อเสื่อมแล้วเป็นการยากต่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ดีดังเดิมเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดจึงได้ดำเนินโครงการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นของประชาชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขร่วมกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.โล๊ะจูดตรวจสุขภาพในชุมชนเขตพื้นที่เทศบาล ตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2568 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมโรคไม่ติดต่อในชุมชน เพิ่มการเข้าถึงการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเองได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกิน ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือด อุณหภูมิร่างกาย ค่าออกซิเจนในเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.ประชาชนรับทราบสถานะความดันโลหิตของตนเองเพิ่มขึ้น รวมถึงกลุ่มประชาชนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติได้รับการติดตาม วินิจฉัย และรับการรักษา
2.ลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
3.ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อ