กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ โรงเรียนบ้านโหละหนุน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

โรงเรียนบ้านโหละหนุน

ม.4ต.อ่างทอง อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

4.00
2 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

12.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการของเด็กเล็ก (0-3 ปี) ลง

ร้อยละของเด็กเล็ก (2-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

4.00 2.00
2 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

12.00 9.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 86
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนร่วมกันของคณะครู ถึงแนวทางการจัดกิจกรรม เกี่ยวกับโครงการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ โรงเรียนบ้านโหละหนุน

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2568 ถึง 2 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะครูโรงเรียนบ้านโหละหนุนทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมโดยการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ โรงเรียนบ้านโหละหนุน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การลงมือปฏิบัติงาน

ชื่อกิจกรรม
การลงมือปฏิบัติงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการของเด็ก 1.ฐานเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ปรับปรุงบ่อซีเมนต์ -ทรายละเอียด 2 คิวๆละ 1,175 บาท เป็นเงิน 2,350 บาท -ปูน 10 กระสอบๆละ 165 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท - พันธ์ปลาดุก จำนวน 600 ตัว ๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -อาหารปลาดุก (เฉลี่ย ตัวละ 8 บาท) เป็นเงิน 4,800 บาท
รวม 10,000 บาท

ฐานผักปลอดสารพิษ 1. กิจกรรมปลูกผักลอยฟ้า(แก้ปัญหาน้ำท่วม) -กระถางพลาสติกปลูกผัก 50 ใบๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -พริก 25 ต้นๆละ10 บาท เป็นเงิน 250 บาท -มะเขือ 25 ต้นๆละ 10 บาท เป็นเงิน 250 บาท รวม 3,000 บาท

2.กิจกรรมปลูกผัก(แปลงผักถาวร) -ก้อนอิฐ 300 ก้อนๆละ 7 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท -ทรายหยาบ 3 คิวๆละ 800 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ปูน 4 กระสอบๆละ 165 บาท เป็นเงิน 660 บาท -พันธ์ผักบุ้ง 2 กิโลกรัมๆละ 200 บาท เป็นเงิน 400 บาท
-พันธ์ผักกวางตุ้ง 20 ซองๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท -พันธ์ผักกาดขาว/ผักคะน้า 20 ซองๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท -มูลวัว 11 กระสอบๆละ 40 บาท เป็นเงิน 440 บาท รวม 10,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 20,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) มีภาวะทุพโภชนาการลดลง   2. เด็กเล็ก (อายุ 2 - 6 ปี) มีภาวะทุพโภชนาการลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 การตรวจสอบและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
การตรวจสอบและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1) ระยะก่อนดำเนินการ ได้ตรวจสอบสภาพความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการว่ามีความพร้อมเพียงใด และยังขาดอะไรบ้าง ถ้าขาดความพร้อมจะได้ดำเนินการหาให้ครบ พร้อมที่จะดำเนินการตามโครงการต่อไป 2) ระยะระหว่างดำเนินการ ได้ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมที่ระบุไว้ในโครงการ และใช้งบประมาณเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่โดยให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่กำหนด 3) หลังจากสิ้นสุดการดำเนินงานได้ตรวจสอบความสำเร็จ โดยภาพรวมของแต่ละกิจกรรม ว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่อย่างไร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาและผลผลิตได้ 2.นักเรียนมีทักษะในการตรวจสอบและติดตามกิจกรรมต่างๆได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุป รายงานผลและการปรับปรุงแก้ไข

ชื่อกิจกรรม
สรุป รายงานผลและการปรับปรุงแก้ไข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นขั้นตอนที่นำผลการดำเนินงานมาสรุปร่วมกันกับคณะครูนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อหาข้อดีข้อเสียของโครงการแล้วนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนวัยเรียน (อายุ 6 ปีขึ้นไป) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5
2. เด็กเล็ก (อายุ 2 - 6 ปี) มีภาวะทุพโภชนาการไม่เกินร้อยละ 5


>