กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขภาพดีชีวีมีสุขโดยอสม.หมู่ที่ 3 บ้านลำพด ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองทราย

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านลำพด

1. นางสาวหทัยชนก ทองคำ
2. นางนอม คำวิโรจน์
3. นายอารี พรมจันทร์
4. นางปราณีโฉมแก้ว
5. นางศิรประภานุ่นกำเนิด

หมู่ที่ 3 บ้านลำพด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสถานการณ์ปัญหาสุขภาพของประชาชนบ้านลำพดพบว่าปัญหาสุขภาพ โรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อจากการทำงาน โรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีปัจจัยความเสี่ยงที่ละเลยการตรวจสุขภาพ ปัญหาสำคัญ คือ 1)บกพร่องความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง 2)ขาดแรงจูงใจและขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง 3) ปัญหาในเรื่องของอุปสรรคทางวัฒนธรรม คือ ความอาย ซึ่งต้องการการเสริมสร้างพลังอำนาจในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นรูปแบบ คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่วมกับการจัดกิจกรรม เพื่อสุขภาพในแต่ละหมู่บ้าน ทางรพ.สต.บ้านลำพดร่วมกับ อสม. ได้ตระหนักถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชน อารมณ์ดี ทุกชีวีมีสุข โดยการผสมผสานการดูแลสุขภาพหลากหลายวิธี เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของประชาชน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและรับผิดชอบการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อนำไปสู่การส่งเสริมสุขภาพด้วยตนเองที่ยั่งยืน จึงได้มีแนวคิดในการจัดทำโครงการเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ที่ครอบคลุมเกี่ยวการให้ความรู้ ส่งเสริมการตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชน

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การขจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ

60.00 100.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพและการป้องกันโรค

ประชาชนสามารถถายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้

75.00 90.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา

ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น

50.00 85.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/06/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
สุขภาพดี ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ บรรยายให้ความรู้การควบคุม พัฒนาปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเพื่อสุขภาพกายและจิตที่ดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง

  1. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวนเงิน 3,000 บาท
  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 เมตร x 2.4 เมตร จำนวนเงิน 500 บาท
  3. ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คน 30บาท2มื้อ จำนวนเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆ ละ 60บาท จำนวน 1มื้อ จำนวนเงิน 3,600 บาท
  5. ค่าเอกสารให้ความรู้ จำนวน 60 ชุด ชุดละ 20 บาท จำนวนเงิน1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้นคิดเป็นร้อย 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

กิจกรรมที่ 2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การทำอาหารปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ เช่น แกงเลียง ผักปลอดสารพิษ สลัดผัก ขนมหวาน

  1. ค่าอาหารว่างจำนวน 60 คน 30 บาท2มื้อจำนวนเงิน 3,600 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน 60 บาท1มื้อ จำนวนเงิน 3,600 บาท
  3. ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวนเงิน 3,000บาท
  4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ (ตะไคร้/ข้าวโพด/ฟักทอง/ตำลึง/ไข่/ข้าวโพดอ่อน/ผักหวาน ผักสลัด/มะเขือ) จำนวนเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ป้องกันโรค คิดเป็นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12700.00

กิจกรรมที่ 3 นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ชื่อกิจกรรม
นวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้ผู้อบรม ได้กระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียงและการป้องกันสุขภาพ

  1. ลูกประคบ จำนวน 40 *100บาท จำนวนเงิน 4,000 บาท
  2. น้ำมันนวดตัว จำนวน 20*50 บาทจำนวนเงิน 1,000 บาท
  3. ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวนเงิน 1,800 บาท
  4. ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คน* 30บาท * 1มื้อจำนวนเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาขนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพเพื่อผ่อนคลาย ไม่เครียด เสริมทักษะในการดูแลสุขภาพของตัวเองได้อย่างเหมาะสมตามวิถีพอเพียงและการป้องกันสุขภาพ คิดเป็นร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,200.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การขจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่างๆ
2..ประชาชนมีความตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3.ประชาชนสามารถถายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้


>