กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตาแกะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอย.น้อยตำบลตาแกะ คุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ตาแกะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแกะ

ตำบลตาแกะ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง ร้านขายของชำในหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพเหล่านี้มีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วน เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอกจนผู้บริโภค ซึ่งรวมไปถึงนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น หากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพ ลอกเลียนแบบเจือปนสารอันตรายลงไปหรือหากบริการสุขภาพนั้นไม่ได้มาตรฐานจะทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบต่อสุขภาพจนอาจทำให้เสียชีวิตได้
เด็กที่อยู่ในวัยเรียนเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดี โดยนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย รวมทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียน ครอบครัวและชุมชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาแกะ จึงได้จัดทำโครงการ อย.น้อยตำบลตาแกะ คุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการตรวจสอบ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน ตลอดจนร่วมเป็นเครือข่ายในตำบลตาแกะ ที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อแก่คนในชุมชนได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง

ร้อยละ 70 ของผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค และมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง

60.00 0.00
2 เพื่อให้โรงเรียนในตำบลตาแกะมีห้องปฐมพยาบาล ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

โรงเรียนมีห้องปฐมพยาบาล ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 แห่งในตำบลตาแกะ

3.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย)

ชื่อกิจกรรม
การสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังในงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ๑.๒ ม. x ๒.4 ม.(ตารางเมตรละ 250บาท) จำนวน 1 ป้าย 2.จัดซื้อเอกสารในการจัดประชุม/จัดทำโครงการ/ การสรุปโครงการ 3.จัดซื้อชุดทดสอบต่างๆ
4.จัดอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ อย.น้อย ใน 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านฝาง , โรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ และโรงเรียนบ้านเฑียรยา เกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ยา และเครื่องสำอาง
5.ตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร เครื่องสำอาง และยา ด้วยชุดทดสอบ เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารปนเปื้อนเหล่านั้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง 2.เครือข่าย อย.น้อย ทราบถึงอันตรายของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ที่มีสารปนเปื้อนปะปนอยู่ และสามารถบอกต่อแก่ครอบครัว และชุมชนของตนเองได้ 3.ชุมชนมีนักเรียนเป็นเครือข่าย ที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อแก่คนในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10860.00

กิจกรรมที่ 2 บูรณาการการเฝ้าระวังการใช้ยาและการดูแลรักษายาในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
บูรณาการการเฝ้าระวังการใช้ยาและการดูแลรักษายาในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจห้องปฐมพยาบาลทั้ง 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านฝาง , โรงเรียนชุมชนบ้านตาแกะ และโรงเรียนบ้านเฑียรยา เพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับครู และแกนนำนักเรียน ทั้ง 3 โรงเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและเกิดเฝ้าระวังการใช้ยาและการดูแลรักษายาในโรงเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีห้องปฐมพยาบาล ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 แห่งในตำบลตาแกะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เครือข่าย อย.น้อย ในโรงเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ เช่น อาหาร ยา และเครื่องสำอาง
2. ชุมชนมีนักเรียนเป็นเครือข่าย ที่สามารถให้ความรู้หรือบอกต่อแก่คนในชุมชนได้
3. โรงเรียนมีห้องปฐมพยาบาล ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน


>