2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดโรคในเด็ก 0 - 5 ปี ทั้งนี้การส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังสามารถลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจาการดูแลรักษาเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนปัจจุบันแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้กำหนดให้เด็ก 0 - 5 ปี เข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุจำนวน 13 โรค ได้แก่วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฮิบ โปลิโอ โรต้า ไข้หวัดใหญ่ หัด คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สมองอักเสบเจอี และแม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีเข้ารับวัคซีนในสถานบริการสาธารณสุขโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ยังพบว่าความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 5 ปีของจังหวัดปัตตานี ในปี 2565 โดยภาพรวมมีเพียงร้อยละ 37.41
ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 90
พื้นที่ตำบลบางปู เป็นชุมชนกึ่งเมือง การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำรับจ้าง นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู มีประชากรในเขตรับผิดชอบจำนวน 6,158 คน มีประชากรเด็กอายุ 0 - 36 เดือน จำนวน 366 คน อายุ 37 - 60 เดือน จำนวน 321 คน จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 -2566 ซึ่งมีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนแต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ (fully immunized) จำแนกตามอายุครบ 1 ปี ร้อยละ 55.22, 48.61, 33.33, 11.63 และ15.29 ตามลำดับ อายุครบ 2 ปี ร้อยละ 50.88, 33.75, 44.29, 13.89 และ 9.00ตามลำดับ อายุครบ 3 ปี ร้อยละ 63.89, 42.25, 37.80, 28.38 และ 13.95 ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุของการไม่รับหรือรับวัคซีนไม่ครอบคลุม ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สะดวกรับบริการวัคซีน เด็กป่วยตรงกับวันที่รับวัคซีน ปัญหาการเดินทางมารับวัคซีนเนื่องจากผู้ดูแลหลักเป็นผู้สูงอายุและไม่มีพาหนะใช้ในการเดินทาง วันที่ให้บริการวัคซีนไม่ตรงกับเวลาว่างของผู้ปกครอง ผู้ปกครองได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนที่ไม่ถูกต้องส่งผลให้ขาดความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัยหลังจากได้รับวัคซีน รวมทั้งความเชื่อทางศาสนาในเรื่องของวัคซีนไม่ฮาลาล ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวได้จากการสอบถามผู้รับบริการโดยตรงและอาสามสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
จากสาเหตุปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู จึงได้
จัดทำโครงการโครงการส่งเสริมเพิ่มความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 0 - 5 ปี ประจำปีงบประมาณ 2568 ในพื้นที่ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยจะดำเนินในรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปการณ์ของโครงการเชิงผลลัพธ์
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 02/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. มีแกนนำส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี
2.ประชาชนรับรู้ เข้าใจถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
3.ผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
4.เด็กอายุ 0 - 5 ปี รับวัคซีนครบตามเกณฑ์