กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ"สุขภาพจิต พิชิตสุขภาพใจ"

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะรัง

โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ

นายอัสมาน หะยีมะลี
นายยูลกิฟลี ดอเลาะ
นางสาวปาตีซูอาเยาะแซ
นางสาวสารีป๊ะ ดอนิ
นางสาวนัรมีร์ ดอเส็น

โรงเรียนพิทักษ์ศาสน์วิทยามูลนิธิ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าในประชากร 4 คนจะมีผู้มีปัญหาสุขภาพจิต 1 คน และอีก 2 คนเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพจิต เช่น เป็นญาติพี่น้อง คนในครอบครัว เป็นต้น สำหรับโรคทางจิตเวชประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคทางจิตทั้งหมดจำนวน 1,152,044 ราย ส่วนใหญ่จะเริ่มป่วยในช่วงปลายวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ อายุระหว่าง 15-35 ปี ซึ่งเป็นช่วงชีวิตของการทำ งานและการสร้างครอบครัว และจากการศึกษาดัชนีวัดความสูญเสียทางสุขภาพ หรือ DALYs พบว่า ในปี พ.ศ. 25๖2 คนไทยสูญเสียสุขภาวะ (DALYs) ทั้งที่ควรจะมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี โดย 10 อันดับแรกสำหรับเพศชายมีโรคซึมเศร้าอยู่ในอันดับที่ 10 และในเพศหญิงโรคซึมเศร้าอยู่อันดับที่ 3 การสำรวจระดับชาติล่าสุดในปี 2561 พบคนไทยร้อยละ 14 หรือ 9 ล้านกว่าคนมีปัญหาสุขภาพจิตและในภาวะวิกฤต เช่น ภัยธรรมชาติ แผ่นดินไหว จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับประชาชนจำนวนมากโดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยทำงาน เมื่อเกิดขึ้นแล้วส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำ เนินชีวิต การประกอบอาชีพทั้งของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเอง คนใกล้ชิดและครอบครัว ชุมชนหากมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดีและมีแนวทางในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตก็จะช่วยลดสถานการณ์ปัญหาและผลกระทบเหล่านี้ลงได้ การส่งเสริมสุขภาพจิตคือ การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศวัยได้รับการดูแลทางสังคมจิตใจให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะในการดูแลตนเอง และอยู่ในสิ่งแวดล้อม ครอบครัว สังคม ชุมชน ที่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพจิตจึงเกิดจากการที่สังคมชุมชนดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและการที่ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลจิตใจตนเอง และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต คือ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวช โดยการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ความเครียดระยะยาว ความก้าวร้าวรุนแรง และเพิ่มปัจจัยปกป้อง เช่น การให้กำลังใจ การช่วยเหลือด้านการอาชีพ แก่ประชาชนทุกเพศวัย การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตดำเนินการในกลุ่มประชาชนทุกเพศวัยในกลุ่มปกติ เช่น การจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในที่ทำงานเพื่อลดความเครียด การจัดค่ายป้องกันยาเสพติดสำหรับวัยรุ่นและกลุ่มเสี่ยง เช่น การดูแลทางสังคมจิตใจกลุ่มวัยรุ่นตั้งครรภ์ การคัดกรองและดูแลทางสังคมจิตใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังการดูแลทางสังคมจิตใจผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง เป็นต้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้มีความรู้ สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดี

ครูและนักเรียนได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้

0.00

2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมายในการส่งเสริมสุขภาพจิตและการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2025

กำหนดเสร็จ 01/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม "สำรวจใจ...สำรวจสุข" (Mindful Moment)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม "สำรวจใจ...สำรวจสุข" (Mindful Moment)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 กระตุ้นความสนใจการเปิดโครงการ กล่าวต้อนรับและแนะนำหัวข้อ “สุขภาพจิตสำคัญอย่างไร?” โดยผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรด้านสุขภาพจิตฉายวิดีโอสั้นเกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพจิตในชีวิตประจำวัน เวลา 09.00 - 12.00 น.
กิจกรรม Ice-Breaker เกม “วงล้อมิตรภาพ”: ให้นักเรียนแบ่งเป็นวงกลม พูดสิ่งที่ชื่นชอบเกี่ยวกับเพื่อนคนข้าง ๆเกมจับคู่คำสุขภาพใจ: เช่น คำว่า “ความสุข” จับคู่กับ “รอยยิ้ม” ค่าวิทยากร 2 คน 3 ช.ม. ช.ม.ละ 600 (600 * 3 * 2 = 3,600 บาท )
ค่าอาหารเที่ยง 1 มื้อ ( 50 * 100= 5,000 บาท) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ( 25*100= 2,500 บาท ) ค่าไวนิล 1,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 1 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12400.00

กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้ผ่านฐานกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
การเรียนรู้ผ่านฐานกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2 การเรียนรู้ผ่านฐานกิจกรรม เวลา 13.00 - 16.00 น.
กิจกรรมแบ่งออกเป็น 4 ฐานใหญ่ ให้ทุกกลุ่มหมุนเวียน (ใช้เวลา 30 นาทีต่อฐาน) ฐาน 1: สำรวจใจ เครื่องมือ: บัตรคำถามสุขภาพจิต เช่น วันนี้คุณรู้สึกอย่างไร? อะไรทำให้คุณเครียดมากที่สุด? เป้าหมาย: ให้นักเรียนระบายความรู้สึกผ่านภาพวาดหรือการเขียน และแบ่งปันกันในกลุ่มเล็ก ๆ ฐาน 2: พลังของความคิดเชิงบวก กิจกรรม: นักเรียนเขียน "สิ่งที่ดีที่สุดในตัวฉัน" ลงในกระดาษโพสต์อิท แบ่งกลุ่มและแลกเปลี่ยนโพสต์อิทเพื่อเสริมสร้างกำลังใจในกลุ่ม เป้าหมาย: ฝึกมองหาข้อดีในตัวเองและผู้อื่น ฐาน 3: ศิลปะเพื่อสุขภาพใจ กิจกรรม: ใช้วัสดุง่าย ๆ เช่น สีไม้ ดินน้ำมัน หรือลวด มาทำงานศิลปะที่แสดงถึง “ความสุขในชีวิตประจำวัน” เป้าหมาย: ให้ศิลปะช่วยผ่อนคลายและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ฐาน 4: เคลื่อนไหวกาย ใจสบาย กิจกรรม: โยคะง่าย ๆ, การฝึกหายใจเพื่อคลายเครียด เป้าหมาย: ให้นักเรียนเรียนรู้วิธีการปรับสมดุลทางอารมณ์ผ่านร่างกาย ค่าวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมฐาน 4 ฐาน ( 500 * 4 = 2,000 บาท ) ค่าอาหารเย็น 1 มื้อ ( 50 * 100= 5,000 บาท) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ( 25*100= 2,500 บาท )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 1 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 20.30 - 21.30 น. มีการบรรยายในหัวข้อคุณธรรมจริยธรรมโดยวิทยากรบาบอผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนา
เวลา 04.00 - 05.00 น. มีการละหมาดตะหัจญูด และละหมาดซูโบห์ร่วมกัน
เวลา 05.30 - 06.00 น. อ่านอัลกุรอ่านพร้อมเพรียงกัน เพื่ออาดียะห์ให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เวลา 06.30 - 07.30 น. กิจกรรมออกกำลังกายยามเช้า เวลา 08.00 - 08.30 น. ร่วมกันรับประทานอาหารเช้าและอาหารว่าง
เวลา 08.30 น. ปิดพิธีโดย ผอ.โรงเรียน ค่าวิทยากร 1 คน 1 ช.ม. 600 บาท ค่าอาหารเช้า 1 มื้อ ( 50 * 100= 5,000 บาท) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ( 25*100= 2,500 บาท )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 2 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครูและนักเรียนโรงเรียนพิทักษ์ศาสน์สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้กับตนเองและสามารถดูแลสุขภาพของครอบครัวและชุมชนให้มีสุขภาพจิตที่ดีได้


>