กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโรงเรียนเด็กไทยฟันดี (โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลาโละ

โรงเรียนบ้านบริจ๊ะ

ตำบลลาโละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งสำหรับการมีสุขภาพที่ดี ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญ คือการดูแลตั้งแต่อยู่ใน
ครรภ์มารดาจนถึงวัยผู้สูงอายุ ในวัยเด็กการเกิดฟันผุในกลุ่มวัยเรียนจะทำให้เด็กมีอาการปวดฟัน เคี้ยวอาหารไม่ได้
รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เด็กมีปัญหาในเรื่อง
การนอนหลับทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตช้าส่งผลต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ดังนั้นการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้
เด็กวัยเรียน ต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากต่อตนเอง ครอบครัวและโรงเรียน โดยสามารถ
จัดการปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดี ให้กับเด็กทั้งเรื่องโภชนาการที่เหมาะสมหลีกเลี่ยงอาหาร
ที่เป็นโทษกับสุขภาพฟัน การดูแลทำความสะอาดช่องปากและฟันอย่างถูกวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
รวมทั้งการปลูกฝังให้เด็กมีพฤติกรรมในอนาคตที่ดีต่อไป ซึ่งโรงเรียนบ้านบริจ๊ะ ให้ความสำคัญกับสุขภาพช่องปากของ
นักเรียนเป็นอย่างยิ่ง โดยเล็งเห็นว่าเด็กนักเรียนที่มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์และสามารถ
เรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ โครงการ "ส่งเสริมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี" จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมี
สุขอนามัยช่องปากที่ดี ด้วยการจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล
รักษาฟันอย่างถูกวิธีโดยโครงการนี้ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากให้แก่นักเรียน และปลูกฝัง
พฤติกรรมที่ดีในการดูแลฟันอย่างยั่งยืน
ในการนี้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี เพื่อให้มีการดูแลส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีกลุ่มเด็กวัยเรียน ซึ่งมีการอบรมให้ความรู้กับเด็กวัยเรียนให้มีความรู้ ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี รวมถึงการได้รับการดูแลส่งต่อให้กับหน่วยบริการสาธารณสุขกรณีที่มีความจำเป็นต้องส่งต่อรักษาเร่งด่วน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพช่องปากที่ดีทุกช่วงวัย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เด็กวัยเรียนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากและมีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์
2. เพื่อให้เด็กวัยเรียนได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากได้อย่างครอบคลุม
3. เพื่อให้เด็กวัยเรียนเข้าถึงบริการบริการสุขภาพช่องปากได้อย่างทั่วถึง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 167
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องดูแลสุขภาพช่องปากให้กับเด็กวัยเรียน  โดยวิทยากร ดังนี้     - หน้าที่และความสำคัญของอวัยวะในช่องปาก            - โรคในช่องปากที่สำคัญ            - อาหารและโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพ
    - การดูแลสุขภาพช่องปาก
    - การแปรงฟันอย่างถูกวิธี/ฝึกปฏิบัติจริง
           2. จัดกิจกรรมรณรงค์แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวัน     3. การตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากให้เด็กวัยเรียน
           4. การให้คำแนะนำและรับบริการทันตกรรมเคลือบหลุมร่องฟันและทาฟลูออไรด์วานิช            5. ประเมินความรอบรู้และพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์ก่อน-หลัง ดำเนินงานโครงการ 6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลลาโละ  อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กวัยเรียนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่พึงประสงค์และเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น
- เด็กวัยเรียนปราศจากฟันผุเพิ่มขึ้น


>