2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 2 และ 3 ตามลำดับ ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งลำไส้ ของโรคมะเร็งทั้งหมด สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมา พบแพทย์เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้าน สังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในระยะเริ่มแรก ร้อยละ 30 – 40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ ของการตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจาก โรคมะเร็งลดลง และการเข้าถึงการตรวจตามหลักนโยบาย Cancer Anywhere ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสะดวกและเข้าถึงการรักษา ได้มากขึ้น จากผลการดำเนินงาน การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30- 60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ปี 2565 - 2567 พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คิดเป็นร้อยละ 7.62, 22.34 และ 23.20 ตามลำดับ กลุ่มคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้า รับบริการการ ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ปี 2567 กลุ่มเป้าหมาย 30-70 ปี มีจำนวน 290 ราย ได้รับการคัดกรอง 219 ราย คิดเป็นร้อยละ 75.52 ( ข้อมูล HDC วันที่ 30 กันยายน 2567 ) และตรวจไม่พบความผิดปกติ อาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองมีความซับซ้อน ทำให้ไม่เข้าใจ หรืออาจเกิดจาก กลุ่มเป้าหมาย ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ส่วนการคัดกรองมะเร็งลำไส้ ปี 2567 กลุ่มเป้าหมายคิดเป็นสุ่มตรวจร้อยละ 20 จำนวน 46 ราย ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ 46 ราย คิดเป็นร้อยละ 100ไม่พบความ จะเห็นได้ว่า การคัดกรองมะเร็งแต่ละประเภท ประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการตรวจสุขภาพมักจะพบผิดปกติได้ ในระยะเริ่มต้น และจะได้รับการดูแลแนะนำการรักษา และส่งต่อ ในการรักษาได้ทันที แต่เป้าหมายจำนวนมากที่ยังไม่ให้ความร่วมมือในการคัดกรองเรื่องมะเร็ง ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า กลุ่มคัดกรองมะเร็งที่ยังไม่เข้ารับการตรวจฯจะเป็นกลุ่มที่ยากต่อการติดตามเข้ารับบริการ ไม่ตระหนัก ขาดความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อพบผลผิดปกติ ปฏิเสธการรักษา และอาจเกิดจากการตรวจที่ไม่ถูกต้อง เทคนิคหรือแบบการตรวจคัดกรองมีความซับซ้อน ทำให้ไม่เข้าใจ หรืออาจเกิดจากกลุ่มเป้าหมายยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำตก จึงได้จัดทำโครงการคนยุคใหม่รู้ทัน ใส่ใจโรคมะเร็ง ปี 2568ขึ้น กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ในการเก็บตัวอย่าง และยังเป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งแบบยั่งยืนต่อไปยิ่งด้วย
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับการตรวจคัดกรองมะเร็งครบวงจร สามารเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการคัดกรองครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย