กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการวัยรุ่นโคกม่วงรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า ประจำปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง
กลุ่มคน
1.นายสุนทร คงอินทร์
2.นายโชคชัย สิงห์ดำ
3.นายอาทร บุญแสง
4.นางสุพิศ เรืองพุทธ
5.นายณัฐพงศ์ คงสง
3.
หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง แม้จะมีกฎหมายระบุชัดเจนถึงการห้ามขาย ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการขายอย่างแพร่หลาย และมีการเข้าถึงสถานศึกษา พบเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มีการซื้อขายในโรงเรียน ครูบางคนยังไม่รู้จักและ ไม่รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ปกครองบางคนยังเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย จึงไม่ห้ามให้เด็กสูบ อีกทั้งผู้ขายหรือผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ได้ปรับรูปแบบ ปรับกลิ่นให้เข้ากับเด็ก ๆ และวัยรุ่น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายขนม ของเล่น อุปกรณ์การเรียน มีสีสันสดใส แต่แฝงไปด้วยอันตรายร้ายแรง จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 30.5 เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าได้ระบาดมากขึ้นใน เด็กอายุที่ต่ำลง ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจาก ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน พบว่าข้อมูลจากผลสำรวจในปี 2564-2565 บุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 80,000 คน เพิ่มมา 700,0000-800,000 คน ในกลุ่มอายุ 18-30 ปี โดยผลการสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คนในโรงเรียนทั่วประเทศ พบว่าปี 2565 เด็กไทยอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 17.6% เพิ่มขึ้น 5.3 เท่าจากปี 2558 ที่มีเพียง 3.3 % และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งกลยุทธ์ส่งเสริมการขายผ่านสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนถูกหลอกลวงได้ง่ายขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของเด็กและเยาวชนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยงานวิจัยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 6,045 ราย ในปี 2565 พบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้ม ลองสูบบุหรี่ธรรมดา เพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าซึ่งเป็นการย้ำว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาและสารเสพติดชนิดอื่น ๆ ทั้งนี้ ในแง่ของนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ 2.สร้างการรับรู้ภยันตรายและการเสพติดของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน และสาธารณชน 3.เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 4.พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกัน ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 5.ยืนยันนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า
สำหรับในเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส) มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอยู่ที่ร้อยละ 8% ซึ่งน้อยกว่าภาพรวมของประเทศที่อยู่ที่ 9.1% โดยข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา (สคร.12) พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมและเทียบเท่าในเขตพื้นที่ภาคใต้จำนวน 5,813 คน พบว่าร้อยละ 14.5 ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยพบว่านักเรียนชายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 19.6 มากกว่านักเรียนหญิงที่ใช้เพียงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าโดยบูรณาการความร่วมมือและทรัพยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตสุขภาพที่ 12 และกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในพื้นที่นำร่อง/พุ่งเป้า จำนวน 18 ตำบล ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดพัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส) จังหวัดละ 3 ตำบล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานำไปสู่การปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป ในการนี้ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วงร่วมกับเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “วัยรุ่นโคกม่วงรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า” ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อสร้างความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า ผ่านกิจกรรมอบรมให้ความรู้และสื่อสารรณรงค์
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของเยาวชนและผู้ปกครองที่เข้ารับอบรมและการสื่อสารรณรงค์ มีความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมทั้งสามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจได้
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 70.00
  • 2. เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่และเยาวชน นักสื่อสารสู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของเยาวชนที่เข้าร่วมการพัฒนาศักยภาพนักสื่อสาร สามารถเป็นนักสื่อสารสู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่
    ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 70.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดตั้งคณะทำงาน
    รายละเอียด

    ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย
    -ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง
    -ตัวแทนเทศบาลตำบลโคกม่วง
    -เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ประกอบด้วย ผู้ประสานงาน ขสย. ระดับจังหวัด 1 คน พี่เลี้ยงเครือข่าย ขสย. ในพื้นที่ฯ 1 คน

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. เก็บข้อมูล
    รายละเอียด

    -เก็บข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยการใช้แบบสอบถาม จำนวน 50 ชุด
    -สังเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ได้รับ
    -สรุปข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. กิจกรรมจัดเวทีอบรมให้ความรู้/สร้างความเข้าใจต่อปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมายหลัก ผู้เข้าร่วมกระบวนการตลอดทั้งโครงการฯ ได้แก่ เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา นักเรียนชั้นประถมปลาย (ป.4-6) และ/หรือชั้นมัธยมต้น (ม.1-3) จำนวน 50 คน
    -จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจให้แก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา จำนวนครึ่งวัน ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วงหรือสถานศึกษา
    -จัดกิจกรรมผลิตสื่อรณรงค์ป้องกันปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า
    ค่าใช้จ่าย ดังนี้
    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม( สำหรับผู้เข้ารับการอบรม เจ้าหน้าที่และวิทยากร) จำนวน 25 บาท x 60 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
    -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชม. x 600บาท เป็นเงิน1,800 บาท
    -ค่าป้ายไวนิลโครงการ (ขนาด 1.2 เมตร x 2 เมตร) เป็นเงิน 480บาท
    -ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมอบรมและกิจกรรมประดิษฐ์ป้ายรณรงค์ป้องกันปัญหาบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเงิน 2,000 บาท
    -ค่าป้ายไวนิลให้ความรู้บุหรี่ไฟฟ้า พร้อมขาตั้ง (ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร x สูง 160 เซนติเมตร) จำนวน 5 ชุดๆละ 900 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

    งบประมาณ 10,280.00 บาท
  • 4. กิจกรรมประกวด
    รายละเอียด

    ประกวดเรียงความ หัวข้อปกป้องเด็กไทยจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
    - ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ สำหรับผู้ชนะการประกวด รางวัลที่ 1 2 3 เป็นเงิน 450บาท
    - ค่าของรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล เป็นเงิน 750 บาท

    ประกวดภาพวาด
    หัวข้อปกป้องเด็กไทยจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
    - ค่าประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ สำหรับผู้ชนะการประกวด รางวัลที่ 1 2 3 เป็นเงิน 450 บาท
    - ค่าของรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด จำนวน 3 รางวัล เป็นเงิน 750 บาท

    งบประมาณ 2,400.00 บาท
  • 5. กิจกรรมจัดเวทีสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็ก/เยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
    รายละเอียด

    กลุ่มเป้าหมายรอง เป็นผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้และได้รับประโยชน์ (โดยอ้อม) จากโครงการฯ จำนวน 50 คน ได้แก่
    -ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกม่วง
    -ตัวแทนเทศบาลตำบลโคกม่วง
    -เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.)
    -ผู้นำชุมชน
    -ผู้บริหารโรงเรียน/ครู
    -แกนนำเด็กเยาวชนในพื้นที่ฯ
    -ผู้ปกครอง หรือครอบครัวของเด็กและเยาวชน
    จัดกิจกรรม ณ เทศบาลตำบลโคกม่วงหรือสถานที่อื่นๆที่เหมาะสม ดังนี้
    -จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ จำนวน 1 ชั่วโมง
    -จัดสานเสวนาสร้างสุขภาวะลดปัจจัยเสี่ยงด้านบุหรี่ไฟฟ้า/ส่งต่อสังคมสีขาวให้เด็กและเยาวชน จำนวน 2 ชั่วโมง
    -จัดทำมาตรการเชิงนโยบายฯ ในพื้นที่
    -ชมนิทรรศการ
    -แสดงผลงานนักเรียน
    -มอบรางวัลการประกวด
    ค่าใช้จ่าย ดังนี้
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 25 บาท x 50 คน x 1 มื้อเป็นเงิน 1,250บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรเวทีเสวนาจำนวน 1 คน x 2 ชม. x 600บาท เป็นเงิน 1,200บาท
    - ค่าตอบแทนวิทยากรอบรมให้ความรู้จำนวน 1 คน x 1 ชม. x 600บาท เป็นเงิน 600บาท
    - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดเวทีสานพลังฯ เป็นเงิน 890 บาท
    - ค่าจัดทำป้ายไวนิลสรุปกิจกรรมตามโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ พร้อมขาตั้ง (ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร x สูง 160 เซนติเมตร) จำนวน 1 ชุดๆละ 900บาท เป็นเงิน 900บาท
    - ค่าป้ายไวนิลเวทีสานพลังฯ (ขนาด 1.2 เมตร x 2 เมตร) เป็นเงิน 480 บาท

    งบประมาณ 5,320.00 บาท
  • 6. ถอดบทเรียน-สรุปผลโครงการ
    รายละเอียด

    -ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 : เพื่อสรุปผลโครงการ / ถอดบทเรียนโครงการ
    -นำเสนอผลการดำเนินโครงการต่อคณะผู้บริหาร  และประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 14 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 18,000.00 บาท

หมายเหตุ : **ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1) มีข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนในพื้นที่ที่ชัดเจนขึ้น
2) ได้ชุดกระบวนการทำงานและแนวทางการแก้ปัญหาที่ออกแบบจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง ที่สามารถนำไปใช้ต่อได้
3) เกิดเครือข่ายแกนนำเยาวชนคนรุ่นใหม่และเยาวชนนักสื่อสารสู้ภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่
4) ได้สื่อรณรงค์เรื่องบุหรี่ไฟฟ้าสำหรับสื่อสารสู่สังคมสาธารณะ
5) เกิดพลังภาคีความร่วมมือและมาตรการเชิงนโยบายในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง รหัส กปท. L3312

อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 18,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................