กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง

นางสาวอาอีเซาะกะลูแป
นางโรสนะห์ดือราเเม
นางสาวอามานีสีตีเลาะ
นางสาววันอามีหะยีดราโอะ
นางสาวซูรายาพนมกากะ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กปฐมวัยเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด 2 - 6 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีพัฒนาการในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เด็กในวัยนี้ ถ้าได้รับการเลี้ยงดู ที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้านก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกันโดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็น ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสติปัญญา ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงมักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้าหรือหยุดชะงักชั่วคราว อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการซึมเศร้า ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ซึ่งการเสริมร้างพัฒนาด้านของเด็กเล็ก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับต้องมีความรู้ความเข้าใจด้วย จากการสำรวจพัฒนาการของเด็กปฐมวัยภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิง มีเด็กนักเรียนบางกลุ่มค่อนข้างจะมีสมาธิสั้น ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง และมีพัฒนาการล้าช้า กว่าอายุ
ในการนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลคลองมานิงได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2-5 ปี ให้มีพัฒนาการตามวัย รวมทั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัยจึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลคลองมานิง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)

1 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมิน พัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)

0.00 0.00
2 2 เพื่อให้เด็กปฐมวัย 2 - 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง ตามวัย

2 เด็กปฐมวัย 2 - 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย

0.00
3 3 เพื่อให้ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกหรือการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้

3 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกหรือการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 57
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 65
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.วิทยากรให้ความรู้ หัวข้อ “ อบรมความรู้ทักษะเกี่ยวกับการคัดกรอง และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ” 2. วิทยากรให้ความรู้ หัวข้อ “อบรมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและกิจกรรมที่ส่งผลเ

ชื่อกิจกรรม
1.วิทยากรให้ความรู้ หัวข้อ “ อบรมความรู้ทักษะเกี่ยวกับการคัดกรอง และประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ” 2. วิทยากรให้ความรู้ หัวข้อ “อบรมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยและกิจกรรมที่ส่งผลเ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1  ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม             เป็นเงิน   4,550  บาท            ( จำนวน 65 คนๆ ละ 1 มื้อๆละ 70 บาท )
2  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม                  เป็นเงิน   4,550  บาท            ( จำนวน 65 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท )
3  ค่าวิทยากรในการฝึกอบรม                 เป็นเงิน  3,600   บาท        ( จำนวน 2 คนๆละ 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท )
4  ค่าจัดทำป้ายโครงการฯ (ไวนิล) จำนวน 1 ผืน 1 x 3 เมตร   เป็นเงิน      750  บาท            ( ขนาด 1 x 3 เมตร ราคาตารางเมตรละ 250  บาท )
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  13,450  บาท  (หนึ่งหมื่นสามพันสี่ร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 ธันวาคม 2567 ถึง 24 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมิน
พัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
2 เด็กปฐมวัย 2 - 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องตามวัย
3 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกหรือการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัยและสามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้


>