กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนำร่องจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน (Health Station)เทศบาลตำบลโคกม่วง ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ เทศบาลตำบลโคกม่วง

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลโคกม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

24.23
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

61.29

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการเสียชีวิต ๒ ใน ๓ ของประชากรไทย ส่งผลต่อ ทั้งต้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศอีกทั้งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วงสองทศวรรษ ที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยหลายด้านตั้งแต่ การจัดบริการคัดกรองไม่ทั่วถึงและประชาชนขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการและองค์ความรู้ในการจัดการตนเอง ระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด - ๑๙ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายลดความแออัดในสถานพยาบาล ทำให้เกิดนวัตกรรมการให้บริการคัดกรองและติดตามภาวะความดันและน้ำตาลในเลือดนอกสถานพยาบาล มีการบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน และส่งต่อข้อมูลกับสถานพยาบาล โดยมีสถานที่ตั้งให้บริการอยู่ในชุมชน มีชื่อเรียกว่า สถานีสุขภาพติจิทัล (Digital Health Station) ซึ่งหมายถึง สถานที่สำหรับให้บริการตรวจสุขภาพด้วยตนเองของประชาชนทุกกลุ่มวัย ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ตลอดเวลาเมื่อมีความต้องการตรวจเช็คสุขภาพของตนเอง หรือเมื่อแพทย์ต้องการติดตามภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

ศูนย์ฟื้นฟูและดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้พิการ เทศบาลตำบลโคกม่วง เทศบาลตำบลโคกม่วงจึงมีความประสงค์จะช่วยให้ประชาชนทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ การตรวจเฝ้าระวังทางสุขภาพได้สะดวกขึ้น และลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังลงได้ จึงได้เขียนโครงการนำร่องจัดตั้งสถานีสุขภาพในชุมชน ( Health Station) ขึ้น ในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลโคกม่วง โดยจะจัดตั้งทั้งหมดจำนวน 1 จุดบริการ ณ กองสาธารณสุขเทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงของประชาชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดตั้งจุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชนนำร่อง ( Health station) สำหรับประชาชนในเขตพื้นที่บริการของเทศบาลตำบลโคกม่วง

จุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชนนำร่อง ( Health station)จำนวน ๑ จุด

1.00 1.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว

ประชาชนที่ใช้บริการได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ตามความจำเป็นร้อยละ 100

100.00 100.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยต้องติดตามระดับของความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด สามารถเข้าถึงบริการได้ อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น

ผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ใช้บริการได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 6,767
กลุ่มผู้สูงอายุ 2,191
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,512
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 14/01/2025

กำหนดเสร็จ : 26/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 40 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 25 บาทเป็นเงิน 1,000บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร วันละ 3 ขั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 480 บาท
    กำหนดการอบรม วันที่ 5 มีนาคม 2568
    กิจกรรมอบรม
    12.30-13.00 น. ลงทะเบียน พิธีเปิด
    13.00-14.30 น. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้เป็นโรคเรื้องรังในชุมชนวิทยากรโดย นางสาวกัลยา คงสุด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
    14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
    14.45-16.00 น. อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการการคัดกรองภาวะสุขภาพเบื้องต้น โดยใช้เครื่องมือคัดกรองโรคความวัดความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานและโรคอ้วน วิทยากรโดย นางสาวกัลยา คงสุด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2568 ถึง 5 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแกนนำจิตอาสาด้านสุขภาพที่มีความรู้และทักษะด้านการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2380.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ omron 7121 จำนวน 2 เครื่องๆละ 2,500 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาล yuwell รุ่นa305 พร้อมเข็มและแผ่นตรวจ 60 ชิ้น จำนวน 1 ชุดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • แถบตรวจระดับน้ำตาล (กล่องละ 25 ชิ้น) กล่องละ 220 บาท จำนวน 5 กล่อง เป็นเงิน 1,100 บาท
  • เครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมวัดส่วนสูง เป็นเงิน 3,000 บาท
  • สายวัดค่า BMI ดัชนีมวลกาย ยาว 1.5 เมตร เป็นเงิน 150 บาท
  • เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด จำนวน 1เครื่องๆละ 800 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์สถานีสุขภาพชุมชน (Health Station) เทศบาลตำบลโคกม่วงเป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้และสื่อต่างๆเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เป็นเงิน 7,450 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2568 ถึง 19 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จุดบริการตรวจเช็คสุขภาพด้วยตนเองในชุมชนนำร่อง ( Health station) จำนวน ๑ จุด ที่สามารถการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การวัดความดันโลหิต การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การวัดอกเอว ให้แก่ทั้งกลุ่มปกติ และกลุ่มป่วยสามารถเข้าถึงบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21500.00

กิจกรรมที่ 3 ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องตันแก่ประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงมารับบริการได้รับการติดตามระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดตามความจำเป็นและเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงมารับบริการสามารถทราบผลสุขภาพของตนเองได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเอง หรือส่งต่อตามอาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยให้การแนะนำ และรักษาที่เหมาะสม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือส่งต่อ ติดตามรักษาตามอาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยหรือประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานผลการดำเนินโครงการและทราบถึงภาวะสุขภาพของผู้มาใช้บริการสถานีสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,880.00 บาท

หมายเหตุ :
**ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้**

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพได้มากขึ้น สะดวกยิ่งขึ้น
2.ประชาชนมีความพึงพอใจในการใช้บริการจุด สถานีสุขภาพ


>