แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก รหัส กปท. L2480
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากความเพิ่มขึ้นของทั้งประชากร ชุมชน สถานประกอบการต่าง ๆ และสิ่งที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นคือ ปริมาณขยะ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณากระบวนการจัดการขยะมูลฝอย กระบวนการคัดแยก การจัดเก็บ การรวบรวม การเก็บขน ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาขยะตกค้าง ทั้งจากประชากรที่เพิ่มมากขึ้น การขาดจิตสำนึก ขาดความตระหนักรู้ของประชาชนดังนั้นชุมชนจึงเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้าหากมีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ จะเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่างๆได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ และให้มีระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการรู้จักคัดแยกขยะ เพื่อเป็นการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และอีกทั้งยังป้องกันโรคติดต่อที่อาจมีพาหะการเกิดโรคจากขยะ จึงได้จัดทำโครงการ“โครงการรู้คัดรู้แยกรู้กำจัดขยะ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรค ปี๒๕๖8” ขึ้น
-
1. เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายผู้นำการจัดการขยะในชุมชนเป็นคณะทำงาน green&clean ชุมชนตัวชี้วัด : เกิดคณะทำงาน green&clean ชุมชน จำนวน 60 คน (6หมู่บ้าน)ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 60.00
-
2. เพื่อเกิดแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชนตัวชี้วัด : มีสถานที่ตั้งเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน จำนวน 6 หมู่บ้านขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 60.00
- 1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อดำเนินงานโครงการและแต่งตั้งคณะทำงานgreen&cleanชุมชนรายละเอียด
1.ประชุมวางแผนแนวทางการดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบออก 2.ประชุมชี้แจง วางแผนงานกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง และอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะทั้งในสถานบริการ และในชุมชน 3.คัดเลือกตัวแทนคณะแกนนำในชุมชน หมู่ 2 บ้านตาโง๊ะ หมู่ 6 บ้านหมู่ 7 บ้าน หมู่ 8 บ้าน หมู่ 10 บ้าน และหมู่ 11 บ้านชอมอง จำนวนหมู่บ้านละ 10 คน เพื่อเข้าร่วมอบรมสร้างความตระหนักรู้และเป็นคณะทำงาน green&clean ชุมชน 4.สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดโรคติดต่อต่างๆของประชาชนในชุมชน แยกข้อมูลวิเคราะห์การเกิดโรคติดต่อในชุมชนที่อาจเกิดจากการขยะไม่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพและการค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดการติดต่อของโรคระบาด
งบประมาณ 0.00 บาท - 2. จัดอบรมให้ความรู้เพืื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะประเภทต่างๆรายละเอียด
1.อบรมการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องการจัดการขยะต่างๆ การจำแนกประเภทของขยะต่างๆ และสร้างความรู้และแนวทางการกำจัดขยะแต่ละประเภทที่ถูกต้อง 2.อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติตต่อต่างๆที่อาจเกิดจาการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคฉี่หนู โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง เป็นต้น รายละเอียดการจัดกิจกรรมอบรมฯ ๐8.30 น. - ๐9.00 น.- ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม ๐9.00 น. - 10.00 น. – อบรมการให้ความรู้เรื่องการคัดแยกประเภทขยะที่ถูกต้องตาม.......
10.00 น. - 10.15 น. - พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.16 น - 12.00 น. - อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้องตามประเภทของขยะ 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.๓๐ น. - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อต่างๆที่อาจเกิดขึ้นเพราะสาเหตุจากการจัดการขยะไม่ถูกสุขลักษณะ 14.30 น. - 14.45 น. - พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14.46 น. - 15.30 น. สาธิตแนวทางการจัดการขยะ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน 15.36 – 16.30- ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับองค์ความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 3.ค่าวิทยากร 6 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าแฟ้มกระดุมพลาสติก จำนวน 60 เล่ม x 20 บาทเป็นเงิน 1,200 บาท 5.ค่าสมุด จำนวน 60 เล่ม x 15 บาท เป็นเงิน 900 บาท 6.ค่าปากกาลูกลื่น 60 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน300บาท 7.ค่ากระดาษ A4 จำนวน 1 รีมเป็นเงิน 125 บาท 8.ค่าป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด1x 2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาทเป็นเงิน 500 บาทงบประมาณ 13,225.00 บาท - 3. ประเมินองค์ความรู้ของคณะทำงาน green&clean ชุมชน และสร้างแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชน จำนวน 6 หมู่บ้านรายละเอียด
1.ประเมินผลความรู้ความเข้าใจของคณะทำงาน green&clean ชุมชน 2.ประเมินผลแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะในชุมชนให้เป็นแนวทางที่ถูกต้อง
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
หมุ่ 2 บ้านตาโง๊ะ ,หมู่ 6 บ้านปิเหล็งเหนือ,หมู่ 7 บ้านปิเหล็งใต้, หมู่ 8 กูแบปูยู , หมู่ 10 บ้านปิเหล็งตะวันออก ,หมู่ 11 บ้านชอมอง
รวมงบประมาณโครงการ 13,225.00 บาท
- ชุมชนมีความตระหนักรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของขยะและการแนวทางจัดการขยะตามประเภทต่างๆ
- ชุมชนให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ
- ชุมชนมีสถานที่คัดแยกขยะ
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก รหัส กปท. L2480
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก รหัส กปท. L2480
อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................