กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเพื่อป้องกันโรค ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.น้ำผุด

1. นายปฏิภานฐ์ สำเร
2. นายวิชัย สำเร
3. นายวิทวัส ศรีรัตน์
4. ว่าที่ ร.ต.หญิง ปิยะนุช คงแดง
5. นางสาวจุรีพร พลลิพัง

ตำบลน้ำผุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย(การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัดศ็อลฯได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ขจัดขนในร่มผ้า ตัดเล็บและการตกแต่งหนวดเครา การตัดหนังหุ้มปลายอวยวะสืบพันธ์ของชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 เนื่องจากผิวหนังบริเวณนี้ จะมีต่อมซึ่งจะสร้างสารที่เรียกว่า smegma หรือขี้เปียก หากมีหนังหุ้มไม่สามารถเปิดออกล้างได้ จะทำให้สารดังกล่าวคั่ง ซึ่งจะก่อให้เกิดกลิ่น การติดเชื้อ รวมเกิดมะเร็งที่องคชาติได้(นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร)นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย
ดังนั้นกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหรือเข้าสุนัตในกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ โดยแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีความรู้ ทักษะด้านการขลิบหนังหุ้มปลายแบบปราศจากเชื้อ เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้รับบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในตำบลน้ำผุดสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคติดเชื้อ

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชาย เพื่อลดภาวะเสี่ยงการติดเชื้อ และภาวะออกเลือดมาก (bleeding) ตลอดจนการรักษาความสะอาดของเพศชาย

กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการ ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 10
ผู้ปกครอง 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การดูแลสุขภาพ (การป้องกันโรคติดต่อ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- จัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ(การป้องกันโรคติดต่อ)เพื่อให้เกิดความตระหนัก ในการป้องกันโรค
- ขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศชายแก่เด็กและเยาวชนมุสลิม ในตำบลน้ำผุด
กลุ่มเป้าหมาย
- เด็ก 40 คน
- ผู้ปกครอง 40 คน
- คณะทำงาน 10 คน
งบประมาณ
• ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2.4 เมตร คิดเป็นเงิน 346 บาท
• ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชม.ๆละ 600 บาท คิดเป็นเงิน 1,800 บาท
• ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและคณะทำงาน 90 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาท คิดเป็นเงิน 6,300 บาท
• ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและคณะทำงาน 90 คนๆละ1มื้อๆละ 80 บาท คิดเป็นเงิน 7,200 บาท
• ค่าผ้าขาวม้า 40 ผืนๆละ100 บาทคิดเป็นเงิน 4,000 บาท
• ค่ายาและหัตถการเหมาจ่าย 40 คนๆ1,300 บาทเป็นเงิน 52,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80
  • กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ร้อยละ 90
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
71646.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,646.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชน (ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย) สามารถลดภาวะเสี่ยงของการติดเชื้อและภาวะเลือดออกมาก
2.ประชาชนเกิดความตระหนัก มีความเข้าใจในการป้องกันโรคติดเชื้อ


>