กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมให้ความรู้ปัญหาทางด้านสายตา และคัดกรองสายตา พัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนตำบลสุไหงปาดี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้ปัญหาทางด้านสายตา และคัดกรองสายตา พัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนตำบลสุไหงปาดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กนักเรียน(อายุ 3-12 ปี) ที่มีการคัดกรองพบภาวะสายตาสั้นและเอียง

 

60.00

สายตาและการมองเห็นถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ พัฒนาการทางด้านสมอง บุคลิกภาพ ตลอดจนถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะเด็กอนุบาลและประถมศึกษา อายุ 3-12 ปี เด็กที่มีภาวะสายตาผิดปกติและไม่ได้รับการแก้ไขจะมีผลกระทบในเชิงลบต่อการศึกษา และโอกาสการทำงานในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง ครอบครัว และคนในสังคมด้วยเช่นกัน ความผิดปกติของสายตา นับเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติ และอาจเป็นอุปสรรคในการศึกษาเล่าเรียน ทำให้มีผลสืบเนื่องในระยะยาวซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดย "การสวมแว่นสายตา” การคัดกรอง การวินิจฉัย และแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติโดยการสวมแว่นสายตา เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี เพื่อให้เด็กนักเรียนในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี เขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ได้รับการตรวจคัดกรองวัดสายตา แก้ไขปัญหาความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาให้สามารถเรียนหนังสือและดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพทางด้านสายตาและการมองเห็นให้กับเด็ก จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้ปัญหาทางด้านสายตา และคัดกรองสายตา พัฒนาการเรียนรู้เด็กนักเรียนตำบลสุไหงปาดีขึ้น โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและแก้ไขปัญหาทางด้านสายตาเด็กนักเรียนให้ได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

เด็กนักเรียน ได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 90

90.00 20.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กนักเรียนที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา นำแว่นสายตาไปใช้ในการเรียน และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข

เด็กนักเรียนที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา นำแว่นสายตาไปใช้ในการเรียน และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ร้อยละ 100

100.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 473
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2025

กำหนดเสร็จ 26/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ด้วยแผ่น E-Chart / Lea Chart

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ด้วยแผ่น E-Chart / Lea Chart
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ด้วยแผ่น E-Chart / Lea Chart โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนวัดประดิษฐ์บุปผา

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 51 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,530 บาท

รวมเป็นเงิน 5,130 บาท

2.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนราชภักดี

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 61 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 1,830 บาท

รวมเป็นเงิน 5,430 บาท

3.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนวัดประชุมชลธารา

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 89 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,670 บาท

รวมเป็นเงิน 6,270 บาท

4.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนบ้านตาเซะเหนือ

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 96 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,880 บาท

รวมเป็นเงิน 6,480 บาท

5.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนวัดโบราณสถิตย์

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 82 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,460 บาท

รวมเป็นเงิน 6,060 บาท

6.อบรมให้ความรู้ และตรวจคัดกรองสายตาเบื้องต้นโดยบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงเรียนบ้านตลิ่งสูง

  • ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 2 คน x คนละ 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 94 ชุด x ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 2,820 บาท

รวมเป็นเงิน 6,420 บาท

7.ไวนิลโครงการ ขนาด 120 x 240 เซนติเมตร x จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน720 บาท

รวมเป็นเงิน 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนได้รับการคัดกรองสายตา และได้ทราบค่าสายตาของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36510.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองซ้ำด้วยเครื่อง Auto Refraction สำหรับนักเรียน ที่มีความผิดปกติ VA20/30

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองซ้ำด้วยเครื่อง Auto Refraction สำหรับนักเรียน ที่มีความผิดปกติ VA20/30
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียน ที่มีค่าสายตา VA มากกว่า 20/30 เข้ารับการตรวจซ้ำด้วยนักทัศนมาตร ด้วยเครื่อง Auto Refraction นักทัศนมาตรบันทึกผลการตรวจในโปรแกรม มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ค่าตรวจสายตาซ้ำ โดยนักทัศนมาตร จำนวน 100 บาท/คน x จำนวน 30 คน
    เป็นเงิน 3,000 บาท

2.ค่าแว่นสายตาราคา 800 บาท/อัน x จำนวน 30 อัน

เป็นเงิน 24,000 บาท

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุด x ชุดละ 30 บาท

เป็นเงิน 900 บาท

รวมเป็นเงิน 27,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน ที่มีค่าสายตา VA มากกว่า 20/30 ได้รับการตรวจซ้ำด้วยนักทัศนมาตร และได้รับการตัดแว่นสายตา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27900.00

กิจกรรมที่ 3 รับส่ง เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสายตา VA มากกว่า 20/30 หรือมีโรคทางตาร่วมด้วย

ชื่อกิจกรรม
รับส่ง เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสายตา VA มากกว่า 20/30 หรือมีโรคทางตาร่วมด้วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับส่ง เด็กนักเรียนที่มีปัญหาสายตา VA มากกว่า 20/30 หรือมีโรคทางตาร่วมด้วย มีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่ารถรับส่งเด็กนักเรียนที่ปัญหาทางสายตาVA มากกว่า 20/30 หรือมีโรคตาร่วมด้วย ไปโรงพยาบาลแม่ข่ายเหมาไม่เกิน 1,100 บาท/เที่ยว
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนที่ปัญหาทางสายตา VA มากกว่า 20/30 หรือมีโรคตาร่วมด้วย ได้รับการพบจักษุแพทย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,510.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนได้รับการประเมินและแก้ไขปัญหาทางด้านสายตาโดยจักษุแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
2.เด็กนักเรียนที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา ได้รับแว่นสายตา และนำแว่นสายตาไปใช้ในการเรียน และดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข


>