กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะสู่สายใยผู้ปกครอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ

1.นางสาวโนรี บินนุ
2.นางสาวนูรีตา บินนุ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะ198 ม.7 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดีจ.นราธิวาส96140

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของผู้ปกครองนักเรียนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านภาวะพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี

 

60.00

พัฒนาการเด็ก เป็นการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกๆด้าน รวมถึงอาจช่วยให้เด็กสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถรับมือกับการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆของเด็กได้อย่างเหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม ปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในแต่ละด้าน ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเรียนรู้ในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิต แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย อันจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว การมีทัศนคติที่ดี ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะเป็นผลเสียและค่อยๆก่อเกิดเป็นพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดปัญหาของสังคมตามมาได้ ปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กในวัย 2-5 ขวบ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โรคไข้หวัด โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก ไข้เลือดออก ไอกรน และโรคที่ไม่ติดต่อ อย่างเช่น เด็กติดจอ สมาธิสั้น ออทิสติกเทียม ซึ่งโรคเหล่านี้ ถ้าเราไม่ดูแลรักษาหรือป้องกัน ก็จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยในระยะยาวและจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ – จิตใจ สังคม ร่างกายและสติปัญญา
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับช่วงวัย โดยใช้สื่อนิทานในการถ่ายทอดความรู้ ในการป้องกันโรคต่างๆ โดยให้ผู้ปกครองมาเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อต่างๆ และพัฒนาการเด็กในวัยต่างๆ ผ่านสื่อนิทาน เพื่อสร้างความเข้าใจและรู้วิธีป้องกันพร้อมทั้งเป็นการสร้างความอบอุ่นในสถาบันครอบครัวได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ การดูแลสุขภาพผ่านการฟังนิทาน

ร้อยละของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

60.00 0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยการเล่านิทาน

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปอเนาะมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพเด็ก  และทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

60.00 0.00
3 3.เพื่อสร้างสุขภาพจิตและสายใยแห่งรักของครอบครัวด้วยนิทาน

ร้อยละของผู้ปกครองมีความตระหนัก และแนวทางในการสร้างความผูกพันกับลูก

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 29
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและจัดนิทรรศการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและจัดนิทรรศการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิล1 ผืนๆละ 720 บาท ขนาด 120x240 ซม. เป็นเงิน 720 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท
  3. ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 29 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1,740 บาท
  4. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 29 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,740 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 29 ชุดๆละ 80 บาท (กระเป๋า,สมุด,ปากกา,แผ่นพับ)เป็นเงิน 2,320 บาท
  6. ค่าหนังสือนิทาน จำนวน 10 เล่มๆละ 135 บาท  เป็นเงิน 1,350 บาท
  7. ค่าหนังสือนิทาน Big Book ขนาด 16 x 16 นิ้ว  จำนวน 4 เล่มๆละ 534 บาท  เป็นเงิน 2,136 บาท
  8. ค่าตุ๊กตาใส่มือสัตว์หัวใหญ่สวมมือขยับปาก/แขนได้  จำนวน 5 ตัวๆละ 259 บาท  เป็นเงิน 1,295 บาท
  9. ค่าหมวกตุ๊กตาหน้าสัตว์ จำนวน 5 ชิ้นๆละ 150 บาท  เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14451.00

กิจกรรมที่ 2 ผลิตหนังสือนิทานพูดได้สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
ผลิตหนังสือนิทานพูดได้สำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กระดาษร้อยปอนด์  จำนวน 2 ๆรีมละ 297 บาท  เป็นเงิน  594  บาท
  2. สีเทียนจัมโบ้ มาสเตอร์ อาร์ต 12 สี จำนวน 1 โหลๆละ 250 บาท  เป็นเงิน 250 บาท
  3. กาวลาเท็กซ์ 16 ออนซ์ ยี่ห้อ TOA จำนวน 5 ขวดๆละ 42 บาท  เป็นเงิน 210  บาท
  4. กระดาษสีสองหน้า จำนวน 10 แผ่นๆละ 8 บาท  เป็นเงิน  80 บาท
  5. เทปเยื่อกาว 2 หน้า 18 มม.x10 หลา สก๊อตช์ จำนวน 6 ม้วนๆละ 57 บาท  เป็นเงิน  342  บาท
  6. ตาพลาสติก ตากลิ้ง ตาปลอม สีขาว คละไซต์ในแพ็ค  จำนวน 4 แพ็คๆละ 60 บาท  เป็นเงิน 240 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1716.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,167.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเรียนรู้ การดูแลสุขภาพผ่านการฟังนิทาน
2. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยการเล่านิทาน
3. สร้างสุขภาพจิตและสายใยแห่งรักของครอบครัวด้วยนิทาน


>