กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะลุรู สู่สายใยผู้ปกครอง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

นางสาวตัสนิง ดือราโอะ
นางสาวนูรีดา ยาการียา
นางสาวโนรียะห์ อาแว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะลุรู ม.3 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดีจ.นราธิวาส96140

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ ของผู้ปกครองนักเรียนยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ด้านภาวะพัฒนาการในเด็ก 0-5 ปี

 

60.00

การพัฒนาการเด็ก เป็นการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยจะเริ่มตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมตามช่วงวัยมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเด็กในทุกๆด้าน รวมถึงอาจช่วยให้เด็กสามารถเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์และสามารถรับมือกับการแปลงเปลี่ยนที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น การเข้าใจถึงพัฒนาการเด็กจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ สามารถส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่างๆของเด็กได้อย่างเหมาะสม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีในทุกช่วงวัยอย่างเหมาะสม ปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในแต่ละด้าน ถือเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการเรียนรู้ในช่วงวัยเริ่มต้นของชีวิต แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมตามวัย อันจะก่อให้เกิดปัญหาในด้านการเรียน การใช้ชีวิต การปรับตัว การมีทัศนคติที่ดี ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะเป็นผลเสียและค่อยๆก่อเกิดเป็นพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดปัญหาของสังคมตามมาได้ ปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับเด็กในวัย 2-5 ขวบ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ เช่น โรคไข้หวัด โรคตาแดง โรคมือเท้าปาก ไข้เลือดออก ไอกรน และโรคที่ไม่ติดต่อ อย่างเช่น เด็กติดจอ สมาธิสั้น ออทิสติกเทียม ซึ่งโรคเหล่านี้ ถ้าเราไม่ดูแลรักษาหรือป้องกัน ก็จะมีผลต่อสุขภาพของเด็กปฐมวัยในระยะยาวและจะมีผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในด้านอารมณ์ – จิตใจ สังคม ร่างกายและสติปัญญา
ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะลุรู ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับช่วงวัย โดยใช้สื่อนิทานในการถ่ายทอดความรู้ ในการป้องกันโรคต่างๆ โดยให้ผู้ปกครองมาเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในการป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อต่างๆ และพัฒนาการเด็กในวัยต่างๆ ผ่านสื่อนิทาน เพื่อสร้างความเข้าใจและรู้วิธีป้องกันพร้อมทั้งเป็นการสร้างความอบอุ่นในสถาบันครอบครัวได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อปลูกฝังให้เด็กเรียนรู้ การดูแลสุขภาพผ่านการฟังนิทาน

ร้อยละของเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะลุรูมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

60.00 0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยการเล่านิทาน

ร้อยละของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปะลุรูมีความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพเด็กและทักษะการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

0.00 0.00
3 3.เพื่อสร้างสุขภาพจิตและสายใยแห่งรักของครอบครัวด้วยนิทาน

ร้อยละของผู้ปกครองมีความตระหนัก และแนวทางในการสร้างความผูกพันกับลูก

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 27
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 27
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/05/2025

กำหนดเสร็จ 29/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและจัดนิทรรศการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการและจัดนิทรรศการนิทานสร้างสุขภาพกายใจเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าป้ายไวนิล1 ผืนๆละ 720 บาท ขนาด 120x240 ซม. เป็นเงิน 720 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท 3.ค่าอาหารพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 27 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 1,620 บาท 4.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 27 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,620บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 27 ชุดๆละ 80 บาท (กระเป๋า,สมุด,ปากกา,แผ่นพับ)เป็นเงิน 2,160 บาท 6.ค่าหนังสือนิทาน จำนวน 10 เล่มๆละ 135 บาทเป็นเงิน 1,350 บาท 7.ค่าหนังสือนิทาน Big Book ขนาด 16 x 16 นิ้วจำนวน 4 เล่มๆละ 534 บาทเป็นเงิน 2,136 บาท 8.ค่าตุ๊กตาใส่มือสัตว์หัวใหญ่สวมมือขยับปาก/แขนได้จำนวน 5 ตัวๆละ 259 บาทเป็นเงิน 1,295 บาท 9.ค่าหมวกตุ๊กตาหน้าสัตว์ จำนวน 5 ชิ้นๆละ 150 บาทเป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14051.00

กิจกรรมที่ 2 ผลิตตุ๊กตาถุงเท้าสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
ผลิตตุ๊กตาถุงเท้าสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ถุงเท้า จำนวน 3 แพคๆละ200 บาท เป็นเงิน 600 บาท 2.กรรไกร จำนวน 1 โหลๆละ 270 บาท เป็นเงิน 270 บาท 3.เชือกพัสดุ สีขาว จำนวน 1 โหลๆละ 239 บาท เป็นเงิน 239 บาท 4.ตาพลาสติก หรือ ลูกตา ตาปลอม สีขาว คละไซต์ในแพ็คจำนวน 4 แพ็คๆละ 60 บาทเป็นเงิน 240 บาท 5.ปืนกาวร้อน จำนวน 6อันๆละ 149 บาท เป็นเงิน 894 บาท 6.ไส้ปืนกาวร้อน จำนวน 3 แพคๆละ 99 บาท เป็นเงิน 297 บาท 7.ผงการบูรหอม จำนวน 4 แพคๆละ 175 บาท เป็นเงิน 700 บาท 8.ใยสังเคราะห์ จำนวน 4แพคๆละ 195 บาท เป็นเงิน780 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4020.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,071.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กเรียนรู้ การดูแลสุขภาพผ่านการฟังนิทาน
2. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยด้วยการเล่านิทาน
3. สร้างสุขภาพจิตและสายใยแห่งรักของครอบครัวด้วยนิทาน


>