กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ไสมะม่วงลดขยะ ลดโรค บริโภคอย่างยั่งยืน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

โรงเรียนบ้านไสมะม่วง

(1) นายศุภโชค สินกั้ง
(2) นางสาวจารุพรรณชูเนื่อง
(3) นางสาววนิดาจิตต์บุญ
(4) นางจำลองพิบูลย์
(5) นางกนกวรรณแก้วจุลศรี
(6) นางสาวอรอุมานิลละออ
(7) นางกัลยากรชัยชนะ
(8) นางสาวกุลวรางค์ มรดกเกษม
(9) นางสาวดวงใจ วิชัยดิษฐ์

โรงเรียนบ้านไสมะม่วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เนื่องจากปริมาณขยะประเภทถุงนม ซึ่งเป็นขยะที่เมื่อ

การมีสุขภาพที่ดีไม่เจ็บป่วยจะทำให้คนในชุมชนดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นสุข การเกิดโรคในปัจจุบันเกิดจากหลายองค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านเชื้อโรค พาหะนำโรค และสิ่งแวดล้อม การป้องกันการเกิดโรคได้นั้นบุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีแหล่งกำเนิดเชื้อโรคน้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ ปราศจากขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ เช่น แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของไข้เลือดออก เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่ของ หนูซึ่งเป็นสาเหตุของโรคฉี่หนูแมลงสาบ และแมลงวัน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วง โรงเรียนบ้านไสมะม่วงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบ้านท่างิ้วซึ่งประกอบด้วยบุคลาการทางการศึกษาและนักเรียนจำนวน 83 คน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียนจะมีขยะเกิดขึ้นทุกวัน ได้แก่ ถุงนม เศษอาหาร ขวดพลาสติก เศษใบไม้แห้ง เป็นต้นขยะที่มีปริมาณในโรงเรียน คือ ใบไม้แห้ง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ของ ยุงหนู และแมลงสาบ นอกจากนี้มีขยะจำพวก ถุงนม หากทิ้งในถังขยะค้างคืนจะส่งกลิ่นเหม็นและเกิดเชื้อราหากสามารถจัดการขยะดังกล่าวได้ จะช่วยลดปริมาณขยะ ส่งผลให้สภาพแวดล้อมในโรงเรียนสะอาด ถูกสุขลักษณะ และปราศจากโรคได้ นอกจากนี้การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สะอาดยังส่งผลต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย คณะครูและบุคลากรของโรงเรียนบ้านไสมะม่วงจึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ในการช่วยกันลดขยะด้วยแนว 3Rs ผ่านกิจกรรมของโครงการลดขยะ ลดโรค บริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะตามแนวทาง 3Rs และแนวคิดลดขยะเป็นศูนย์ ปลูกจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการลดขยะและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ชุมชน ซึ่งเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อสุขภาพที่ดีของนักเรียน ครู ชุมชน และใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง

2.50

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 (1) เพื่อลดปริมาณขยะ และป้องกันโรคในโรงเรียน (2) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยแนวทาง 3Rs (3) เพื่อให้ครู บุคลากร และนักเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปราศจากสิ่งรบกวนจากขยะ มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี (4) เพื่อสร้างจิตสำนึกจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนแก่นักเรียน

(1) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนปราศจากกลิ่นบูดเน่าของถุงนม และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค (2) ลดการเผาใบไม้ ลดมลพิษทางอากาศในโรงเรียน (3) นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจลดลง เช่น โรคภูมิแพ้ (4) นักเรียนแยกขยะได้ถูกต้องตามประเภทขยะ (5) นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโครงการ ร้อยละ 90

2.50 2.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน 13
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 (1) การให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยแนวทาง 3Rs และการคัดแยกขยะ (2) การทำปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง (3) การติดตั้งชุดสาธิตการแยกขยะ (4) การจัดทำป้ายรณรงค์การลดคัดแยกคัดแยกขยะ และผลของขยะที่มีต่อสุขภาพ (5) การล้าง ตาก จัดเก็บถุงนม

ชื่อกิจกรรม
(1) การให้ความรู้แก่นักเรียนเกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยแนวทาง 3Rs และการคัดแยกขยะ (2) การทำปุ๋ยหมักใบไม้แห้ง (3) การติดตั้งชุดสาธิตการแยกขยะ (4) การจัดทำป้ายรณรงค์การลดคัดแยกคัดแยกขยะ และผลของขยะที่มีต่อสุขภาพ (5) การล้าง ตาก จัดเก็บถุงนม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดการเรียนรู้ การแยกขยะ จำนวน 6 ชุด สำหรับห้องเรียน ป.1-ป.6 ชุดละ 290 บาท (6 ชุด x 290 บาท ) เป็นเงิน 1,740 บาท
  2. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมัก
    • ปุ๋ยคอก 30 กระสอบ กระสอบละ 50 บาท(30 กระสอบ x 50 บาท) เป็นเงิน 1,500 บาท (ปุ๋ยหมัก 3 คอก ใช้คอกละ 10 กระสอบ)
    • ผ้ายางคลุมปุ๋ยหมัก ขนาด 1.8 เมตร *4.5 เมตร จำนวน 10 ผืน ผืนละ 150 บาท (10 x 150 บาท ) เป็นเงิน 1,500 บาท
  3. ค่าชุดสาธิตการแยกขยะ 4 ประเภท ความจุ 120 ลิตร จำนวน 4 ถัง ถังละ 1,580 บาท (4 ถังx 1,580 บาท) เป็นเงิน 6,320 บาท
  4. ป้ายไวนิลรณรงค์การลดคัดแยกขยะ ขนาด 1 *2 เมตร จำนวน 1 ป้าย (1 ป้าย x300 บาท ) เป็นเงิน 300 บาท
  5. ป้ายผลของขยะที่มีต่อสุขภาพ ขนาด 1 *2 เมตร จำนวน 1 ป้าย (1 ป้าย x300 บาท ) เป็นเงิน 300 บาท
  6. ค่าไม้สำหรับทำโครงเพื่อติดตั้งไวนิล 840 บาท (ไม่ใช้งบประมาณในกิจกรรมนี้)

รวมงบประมาณทั้งสิ้น12,500 บาท หมายเหตุรายจ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Output) (1) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนปราศจากกลิ่นบูดเน่าของถุงนม และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค (2) ลดการเผาใบไม้ ลดมลพิษทางอากาศในโรงเรียน (3) นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจลดลง เช่น โรคภูมิแพ้ (4) นักเรียนแยกขยะได้ถูกต้องตามประเภทขยะ (5) นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมของโครงการ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ (Output) (1) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนปราศจากกลิ่นบูดเน่าของถุงนม และลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค (2) ลดการเผาใบไม้ ลดมลพิษทางอากาศในโรงเรียน (3) ครู บุคลากร และนักเรียนมีสุขภาพกายที่ดี ลดปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินหายใจลดลง เช่น โรคภูมิแพ้
(4) ครู บุคลากร และนักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี เนื่องจากไม่มีกลิ่น หรือมลพิษจากขยะรบกวนการทำกิจกรรมประจำวัน
(5) นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะด้วยแนวทาง 3Rs (6) นักเรียนได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
    และการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>