2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ไส้ตรงในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับสองในเพศหญิง (จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) อัตราการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทุก ๆ วันมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคร้ายนี้เฉลี่ยวันละ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน และมีผู้ป่วย รายใหม่วันละ 44 คน หรือปีละ 15,939 คน ทั้งนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงมีสาเหตุการเกิดโรค ที่หลากหลาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเนื้อแดงได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมูที่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานานเช่นการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และมีมันสูง รับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test สามารถตรวจพบมะเร็งได้ก่อนที่จะมีอาการควรทำทุก 2 ปี เพื่อค้นหามะเร็งชนิดนี้ FIT test เป็นการทดสอบง่ายๆ โดยจะดูตัวอย่างอุจจาระ เพื่อดูว่ามีเลือดปนอยู่หรือไม่ การทดสอบ FIT test ทำได้โดยการรวบรวมตัวอย่างอุจจาระที่บ้าน เพื่อค้นหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยมีระบบส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างครบวงจรและประชาชนมีความรู้ ในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และ ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
จากการดำเนินงานคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test ปีงบประมาณ 2567 ของ โรงพยาบาลสุไหงปาดี พบว่าประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ด้วยวิธี FIT test จำนวน 572 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.63 และพบผลผิดปกติจำนวน 38 ราย ได้รับการส่องกล้องจำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.63 ซึ่งยังไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหน (เป้าหมายร้อยละ 55 ) จากการวิเคราะห์พบว่า ประชาชนกลุ่มอายุ 50-70 ปี ที่พบผลผิดปกติ ยังขาดความตระหนักเรื่องการส่องกล้อง Colonoscopy ทางโรงพยาบาลสุไหงปาดี เล็งเห็นความสำคัญจึงดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2568 เพื่อให้แกนนำสุขภาพ และประชาชน อายุ 50 – 70 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงเพิ่มขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 50 - 70 ปี ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่และปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. กลุ่มเป้าหมายค้นหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง โดยมีระบบส่งต่อเพื่อการตรวจวินิจฉัยและการรักษาอย่างครบวงจร