กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ในเขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด

เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากปัจจุบันประชากรไทย จะพบปัญหาทางด้านสุขภาพมากขึ้น ส่งผลให้เป็นปัญทางด้านสาธารณสุข ฉะนั้นการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนจึงมีความสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากที่สุดในช่วงอายุ 30 –60 ปีในแต่ละปีผู้หญิงทั่วโลกป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขันปีละ 466,000 คน เสียชีวิตปีละ 231,000 คน ซึ่งประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอยู่ในปรเทศกำลังพัฒนา สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับหนึ่งมะเร็งที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด มะเร็งตับ 18,084 รายมะเร็งหลอดลม มะเร็งปอด 8,565 ราย มะเร็งปากมดลูก 3,166 ราย มะเร็งเต้านม 2,347 ราย และมะเร็งลำไส้ 1,839 ราย จากการรายงานของสำนักงานวิจัยมะเร็งนานาชาติพบว่า ในปี พ.ศ.2546 ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ปีละ 6,192 ราย เสียชีวิต 3,166 ราย หรือประมาณร้อยละ 50 ถ้าคิดคำนวณแล้ว จะมีสตีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก วันละเกือบ 9 ราย มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้และพบว่าการตรวจวินิจฉัยและการรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมและทันเหตุการณ์ ทำให้สามารถลดอุบัติการและอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจและพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติและการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การตรวจค้นหาความผิดปกติของปากมดลูกโดยการทำ Pap smear จึงมีประโยชน์
ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ให้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในหญิงที่มีอายุ30 – 70 ปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และหญิงที่มีอายุ 30 – 60 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองอย่างน้อย 5 ปี ต่อครั้ง การดำเนินงานคัดกรองตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกมีความยากลำบากในการติดตาม เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเขินอายและไม่กล้าที่จะมาตรวจคัดกรองที่สถานบริการ กังวลกับผลของการตรวจและไม่เห็นความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป้าหมายในแต่ละปี มีความยากลำบากในการติดตาม ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูดต้องมีการรณรงค์และจำเป็นต้องใช้เครือข่ายด้านสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนช่วยในการดำเนินงาน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ในกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นร้อยละ 20 (ในรายที่ยังไม่เคยตรวจและตรวจคัดกรองซ้ำในรายที่เคยคัดกรองเมื่อ 5 ปีก่อน)

18.00 20.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นร้อยละ 90

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ชุดอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 100 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และการดูแลตนเองในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และการดูแลตนเองในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปีให้ความร่วมมือ มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา


>