กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ฟันดี โภชนาการเด่น พัฒนาการตามวัย ตาดีกาบางปลาหมอ ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรมตาดีกาหมู่ที่ 8บ้านบางปลาหมอ

1. นายสะอารี มะตีเยาะ (086-9609134)
2. นายดือราซ ยุนุ (088-3461726)
3. นางสาวซีตีคอรีเยาะ มูฮิ (098-7397661)
4. น.ส.นูรียะห์โต๊ะหัด (061-3417073)
5. นส.แวรอตีกะห์ สาและ(061-3417073)

หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ ต.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

110.00
2 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

1.00
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

110.00
4 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

 

110.00

เด็กวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 7-12 ปี กำลังเรียนในระดับประถมศึกษา เป็นวัยที่มีความต้องการพัฒนาทางด้านร่างกาย เติบโตตามพัฒนาการตามวัย มีความอยากรู้อยากเห็น มีการเรียนรู้ทางสังคม การอยู่ร่วมกับคนอื่นๆนอกเหนือจากบุคคลในครอบครัว การส่งเสริมสุขภาพในวัยนี้เป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีสิ่งที่ตามมาคือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะทำให้เด็กหรือเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง จากการที่ได้คลุกคลีกับนักเรียนในพื้นที่ พบว่าในช่วงปีที่ผ่าน นักเรียนหลายคนมีปัญหาปวดฟัน ฟันผุ ประมาณร้อยละ 30 ซึ่งเมื่อปวดฟันแล้วก็จะทำให้เด็กไม่ยอมทานอาหารส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังพบว่าภัยที่คุกคามสุขภาพในเด็กวัยเรียน แยกเป็นข้อดังนี้
1. ติดโทรศัพท์ เล่นเกมส์ ออนไลน์
2. อุบัติเหตุจากการเล่นต่างๆ
3. โรคระบบทางเดินหายใจ
4. พฤติกรรมการกินน้ำหวาน
นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กส่วนใหญ่มีความดื้อรั้น ไม่ค่อยเชื่อฟังผู้ปกครอง ทางชมรมมองเห็นว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกัน และแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ให้มีปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง การเรียนรู้ตามวัยที่พึงประสงค์ เป็นการเตรียมความพร้อมและเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพให้แก่เด็กวัยเรียน ต้องมีการการจัดกิจกรรมหรือกระบวนการต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้เข้าร่วมกิจกรรมในการเรียนรู้ จะได้เติบโตอย่างมีคุณภาพในอนาคต นอกเหนือจากที่ได้มีการเรียนในห้องเรียนตามปกติ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ต้องร่วมกันเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพ ชมรมตาดีกาบ้านบางปลาหมอก็เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในพื้นที่มีหน้าที่ในการฝึกอบรมเยาวชนให้มีจริยธรรม ความรู้ และพัฒนาการของเยาวชน นอกเหนือจากเวลาเรียนปกติของเยาวชน เป็นเวลายาวนานได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และยังเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ จึงได้จัดทำโครงการฟันดี โภชนาการเด่น พัฒนาการตามวัย ตาดีกาบางปลาหมอ ปี 2568 ขึ้นเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ในการจัดกิจกรรมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนมีทัศนคติ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีทัศนคติ มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

110.00 105.00
2 เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โตอย่างมีคุณภาพ ตามพัฒนาการตามวัย อันพึงประสงค์

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีพัฒนาการตามวัยอันพึงประสงค์

110.00 110.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 110
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในที่ งบประมาณ
        - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท   เป็นเงิน  1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนเข้ามามีสวนร่วมในการแก้ปัญหา
  2. ผู้ปกครองได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นในเด็กวัยเรียน และช่วยกันดูแลเด็กในระหว่างที่อยู่บ้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองตรวจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองตรวจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น การตรวจภาวะซีด การวัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูง(BMI) การตรวจสุขภาพช่องปาก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ อุปกรณ์ (เครื่องชั่งน้ำหนัก ที่วัดส่วนสูง สายวัด แว่นขยาย ฯลฯ) เป็นเงิน2,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนได้รับการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นอย่างต่อเนื่อง
  2. มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการใช้คัดกรองสุขภาพเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2680.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การดูแลสุขภาพช่องปาก โภชนาการ และพฤติกรรมในวัยเรียน”
งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 คน x 60 บาทเป็นเงิน3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๖๐ คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน4,200 บาท - ค่าวิทยากรจำนวน4 ชม. x 600 บาทเป็นเงิน2,400 บาท - ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ผืน เป็นเงิน720 บาท เป็นเงิน 10,920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ และทัศนคติ ที่ดีขึ้น
  2. นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  3. นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปเผยแพร่แก่คนในครอบครัว
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10920.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและจิตอาสาป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายและจิตอาสาป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย กิจกรรมจิตอาสาดูแลสิ่งแวดล้อมในการเฝ้าระวังโรคติดต่อประจำถิ่น งบประมาณ - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีทักษะในการใช้ชีวิตประจำวัน
  2. นักเรียนมีสุขภาพ พัฒนาการทางกายที่เแข็งแรง
  3. นักเรียนได้รับการปลูกฝังความเป็นจิตอาสาตั้งแต่วัยเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 5 ฟันต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ฟันต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกวด “นักเรียนฟันตัวอย่าง”
           งบประมาณ - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีบุคคลต้นแบบ
  2. สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุป ประเมินผลโครงการ เก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานต่างๆที่ได้ทำกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม จัดทำรูปเล่ม เพื่อรายงานคณะกรรมการกองทุนฯ              งบประมาณ - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีรูปเล่มรายงานผล
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมผู้ปกครอง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
2. คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น
3. อบรมให้ความรู้ เรื่อง “การดูแลสุขภาพช่องปาก โภชนาการ และพฤติกรรมในวัยเรียน”
4. ประกวด “นักเรียนฟันตัวอย่าง”
5. ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การเคลื่อนไหวขยับกายอย่างต่อเนื่อง (อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที) กิจกรรมจิตอาสาเฝ้าระวังโรคในตาดีกา เช่น การเฝ้าระวังไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธ์พาหะนำโรคติดต่อต่างๆ การพัฒนาทำความสะอาดในที่สาธารณะของหมู่บ้าน การดูแลสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ การคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะในพื้นที่อันเป็นสาเหตุให้มีแหล่งเพาะพันธ์ของโรค เป็นต้น
6. สรุปและประเมินผลโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมและเข้าร่วมกิจกรรม ไปใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองในการเฝ้าระวัง ควบคุมโรคหรือภัยสุขภาพต่างๆ และเผยแพร่แก่คนในครอบครัวได้
2. เด็กและเยาวชนมีทัศนคติที่ดี และเติบโตตามพัฒนาการตามวัย อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3. เด็กและเยาวชนรักการออกกำลังกาย
4. เกิดความรัก ความสามัคคี ในการอยู่ร่วมกัน
5. เด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


>