กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กฟันดีด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี ศพด.อบต.น้ำขาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำขาว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะในเด็กก่อนวัยเรียน ซึ่งมีปัญหาโรคฟันผุจากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผลจากโรคฟันผุ คือความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ มีการติดเชื้อที่อาจจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญเกิดจากเด็กไม่ได้แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน และเด็กรับประทานขนมหรือของหวานมากเกินไปรวมทั้งขาดความเอาใจใส่จากผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลานของตัวเอง ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ พัฒนาการเรียนรู้ และพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพในเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้การดูแลสุขภาพในช่องปากของเด็กปฐมวัยเป็นไปอย่างถูกต้อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาว จึงจัดทำโครงการเด็กฟันดีด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธีศพด.อบต.น้ำขาวโดยเน้นการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัย และการอบรมให้ความรู้ ครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองนักเรียนและยังรวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยที่ผู้ปกครอง และครูผู้ดูแลเด็ก จะได้มาวิเคราะห์ปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ เจตคติ การปฏิบัติตนของผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กปฐมวัยทั้งที่บ้าน และที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวมีสุขภาพช่องปากที่ดี

ร้อยละ 35 ของเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำขาวมีปัญหาสุขภาพในช่องปาก

35.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 78
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
1.จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมวางแผนการดำเนินงานครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู ผู้ดูแลเด็ก และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการวางแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ชื่อกิจกรรม
2. อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองครูและบุคลากรทางการศึกษาหมายเหตุค่าใช้จ่ายประกอบด้วย1.ค่าสมนาคุณวิทยากร/ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน2ชั่วโมงครึ่งอัตราชั่วโมงละ600บาทจำนวน 1 คนรวมเป็นเงิน1,500บาท 2.ค่าสิ่งพิมพ์ได้แก่ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.0 x 2.0 เมตร/1 ผืนรวมเป็นเงิน320 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ จำนวน78 ชุด ชุดละ 27 บาทรวมเป็นเงิน 2,106 บาท4.จัดซื้อโมเดลฟัน 1 ชุดๆละ 1,164 บาท รวมเป็นเงิน 1,164 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพภายในช่องปากของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5090.00

กิจกรรมที่ 3 3.ส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกวัน

ชื่อกิจกรรม
3.ส่งเสริมให้นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกวัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกวัน หมายเหตุค่าใช้จ่ายประกอบด้วย1.ค่าแปรงสีฟัน จำนวน 156 อันๆละ 15 บาท รวมเป็นเงิน 2,340 บาท 2.ค่ายาสีฟันสูตรเจล จำนวน 10 โหลๆละ 420 บาท รวมเป็นเงิน 4,200 บาท 3.ค่าแก้วน้ำ จำนวน 78 ใบๆละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีสุขภาพภายในช่องปากทีดี และมีการดูแลที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8490.00

กิจกรรมที่ 4 4.สุ่มตรวจประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
4.สุ่มตรวจประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มตรวจประเมินผล หลังการแปรงฟันโดยทดสอบด้วยเม็ดสีย้อมฟัน หมายเหตุค่าใช้จ่ายประกอบด้วย 1.ค่าเม็ดสีย้อมฟัน 2 กระปุกๆละ 160 บาท (1กระปุกมี50เม็ด)รวมเป็นเงิน 320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถตรวจได้ว่านักเรียนแปรงฟันสะอาดหรื่อไม่สะอาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
320.00

กิจกรรมที่ 5 5.ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
5.ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการ ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทุกคนให้ความร่วมมือในการสรุปผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,900.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจการดูแลรักษาฟันเด็ก
2. ส่งเสริมให้เด็กแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร
3. เด็กรู้จักรักษาความสะอาดภายในช่องปากและฟัน
4. เด็กสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในชีวิตประจำวันได้


>