กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ตำบลสุไหงปาดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease, CKD) เป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกรวมถึงประเทศไทย ภาวะไตเรื้อรังมักมีการดำเนินโรคไปสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (End-Stage Renal Disease,ESRD) ที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือการปลูกถ่ายไต และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญในการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ทำให้สูญเสียสุขภาวะ เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ประกอบกับสถานการณ์ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อประเทศไทยในอนาคต เพราะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษา ซึ่งมีราคาสูงโดยเฉพาะในระยะที่เข้าสู่การบำบัดทดแทนไต การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และชะลอความเสื่อมของไต ในกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญโดยเฉพาะการค้นหา คัดกรอง เพื่อการเฝ้าระวัง รวมถึงการติดตามดูแลให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน อาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาอย่างเหมาะสม ตั้งแต่การดูแลตนเองที่บ้านจนถึงเกิดการกระตุ้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพในการดูแลตนเองและดูแลผู้อื่น จนทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีจำนวนลดลงได้ในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการดูแลคนในชุมชน
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพในกลุ่มประชาชนที่มีความเสี่ยง และเกิดการชะลอการเสื่อมของไตในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) กองสาธารณสุขฯ องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี จัดทำโครงการป้องกันและชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ตำบลสุไหงปาดี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมดูแลสุขภาพป้องกันภาวะไตเรื้อรังและชะลอภาวะไตวายระยะสุดท้าย

ร้อยละ 80 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมดูแลสุขภาพป้องกันภาวะไตเรื้อรังและชะลอภาวะไตวายระยะสุดท้าย

80.00 20.00
2 เพื่อป้องกันและชอลอการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในตำลบสุไหงปาดีลดลง

80.00 20.00
3 เพื่อให้เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

80.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2025

กำหนดเสร็จ 26/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การป้องกันและชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การป้องกันและชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมให้ความรู้การป้องกันและชะลอภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง(NCDs) มีรายละเอียดดังนี้

  1. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 120x240 เซนติเมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท

  2. ค่าวัสดุอบรม เป็นเงิน 5,700 บาท ประกอบด้วย

    -ค่าสมุด จำนวน 60 เล่ม x เล่มละ 10 บาท เป็นเงิน 600 บาท

    -ค่าปากกา จำนวน 60 ด้าม x ด้ามละ 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท

    -ค่ากระเป๋าผ้า จำนวน 60 ใบ x ใบละ 80 บาท เป็นเงิน4,800 บาท

3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 ชุด x ชุดละ 30 บาท x จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

4 ค่าอาหารกลางวัน พร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 ชุด x ชุดละ 60 บาท x จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

5 ค่าสมนาคุณวิทยากร ให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน 1 คน เป็นเงิน 1,800 บาท

6 ค่าสมนาคุณวิทยากร ตามฐาน จำนวน 3 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท x ฐานละ 2 คน x จำนวน 3 ฐาน เป็นเงิน10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง(NCDs) มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันภาวะไตวายเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26220.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคไต โดยใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคไต

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคไต โดยใช้แบบประเมินโอกาสเสี่ยงโรคไต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคไต โดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ

    - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองไต ตามแบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,220.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้าร่วมโครงการฯมีความรู้และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมดูแลสุขภาพป้องกันภาวะไตเรื้อรังและชะลอภาวะไตวายระยะสุดท้าย
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังในตำบลสุไหงปาดีลดลง
3.เกิดเครือข่ายภาคประชาชนในการดูแล/ป้องกันปัญหาโรคไตวายเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง


>