แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ รหัส กปท. L2511
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
เนื่องจากระยะตั้งครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญสำหรับการให้กำเนิดทารกให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา แม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลดังนั้นจึงจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและทารกในครรภ์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในทุกระยะในการตั้งครรภ์
จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร ในปีงบประมาณ ๒๕67 พบว่า อัตราความครอบคลุมการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน ๑๒ สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 68.75 อัตราความครอบคลุมการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 59.37 อัตราความครอบคลุมการคลอดในสถานบริการ ร้อยละ ๑๐๐ อัตราความครอบคลุมการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 3.12 ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์และการคลอดที่จะต้องคลอดโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานบริการ
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการโรงเรียนพ่อแม่ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเฉพาะให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์ คลอด และได้ตระหนักเห็นความสำคัญของการดูแลตนเองหลังคลอดด้วย
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จึงตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำโครงการ โรงเรียนพ่อแม่ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
-
1. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและหญิงวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวตัวชี้วัด : 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีหรือญาติ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและหญิงวัยเจริญพันธ์ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว ร้อยละ 80ขนาดปัญหา 80.00 เป้าหมาย 80.00
-
2. เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าระบบการฝากครรภ์กับสถานบริการสาธารณสุขตัวชี้วัด : 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้าระบบการฝากครรภ์กับสถานบริการสาธารณสุข ร้อยละ 100ขนาดปัญหา 100.00 เป้าหมาย 100.00
-
3. เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนดตัวชี้วัด : 3.เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 75ขนาดปัญหา 75.00 เป้าหมาย 75.00
- 1. กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรายละเอียด
อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะแกนนำ อสม.เพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ และชี้แจงเกณฑ์มาตรฐานของการฝากครรภ์ให้ทราบ ดังนี้ - การค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อรู้ว่ามีการตั้งครรภ์หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ - การค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ให้ได้รับการวางแผนการดูแลรายบุคคลด้วยกิจกรรมทางการแพทย์ การให้ความรู้และการติดตามอย่างต่อเนื่อง - จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนหญิงตั้งครรภ์ - อสม.เฝ้าระวังและติดตามแม่ฝากครรภ์ไม่ครบ ให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้งหรือฝากครรภ์ครบ 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ - อสม.ติดตามการดูแลหลังคลอดครบ 3 ครั้ง ตามเกณฑ์
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 23 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ30บาท จำนวน 1 รุ่น เป็นเงิน 690บาท
งบประมาณ 690.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาและใช้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ในมิติส่งเสริมการมีส่วนร่วม ความร่วมมือผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติและหญิงวัยเจริญพันธ์รายละเอียด
อบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับการพัฒนาและใช้หลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ในมิติส่งเสริมการมีส่วนร่วม ความร่วมมือผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หญิงตั้งครรภ์และสามีหรือญาติและหญิงวัยเจริญพันธ์ ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์และสามารถประยุกต์ใช้หลักสูตรด้านอาหารพื้นบ้านและแพทย์แผนไทยเพื่อดูแลหญิงตั้งครรภ์ ดังนี้ ครั้งที่ 1 อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ แผนกฝากครรภ์ -บทบาทของพ่อแม่ -การให้คำปรึกษาก่อน – หลังตรวจเลือด -การปฏิบัติตนในระยะตั้งครรภ์ -อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ -การประเมินความเครียด -การเตรียมพร้อมการเลี้ยงลูกด้วยนม ครั้งที่ 2 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ แผนกฝากครรภ์ -การดูแลครรภ์ในระยะก่อนคลอด -การนับลูกดิ้น -อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ -การออกกำลังกายและการฝึกหายใจ -การเตรียมตัวคลอด ครั้งที่ 3 ระยะหลังคลอด แผนกห้องคลอด -การดุแลสุขภาพแม่และทารกแรกเกิด -การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ -การดูแลสุขภาพจิตหญิงหลังคลอด -การวางแผนครอบครัว -การออกกำลังกายหญิงหลังคลอด ครั้งที่ 4 ระยะปฐมวัย(อายุ 2 และ 6 เดือน) แผนกสุขภาพเด็กดี -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน -พัฒนาการ/โภชนาการ/ทันตสุขภาพ -การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค อายุ 2 เดือน วดป................. อายุ 6 เดือน วดป.................. โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 40 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ30บาท จำนวน 4 รุ่น เป็นเงิน 9,600บาท 2.ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าประชุม จำนวน 40 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ60บาท จำนวน 4 รุ่น เป็นเงิน 9,600บาท 3. ค่าจัดจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 X 2.4 เมตร เป็นเงิน 800 บาท 4. ค่าสมมนาคุณวิทยากร 1 คน x 600 บาท X 3 ชั่วโมง จำนวน 4 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท รวมเป็นเงิน 27,200 บาท (สองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)งบประมาณ 27,200.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบูกิ๊ตจือแร อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
รวมงบประมาณโครงการ 27,890.00 บาท
1.หญิงตั้งครรภ์ และสามีหรือญาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพและเกิดความผูกพันในครอบครัวมากขึ้น 2.หญิงตั้งครรภ์เข้าระบบการฝากครรภ์กับสถานบริการสาธารณสุข 3.ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ รหัส กปท. L2511
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.รือเสาะ รหัส กปท. L2511
อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................