กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ลดภาวะแทรกซ้อน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 3 ปะลุรู

1.นางรุ่งนภา ดีทา
2.นางวันญาติ มะ
3.นางสารีปะ มานุ
4.นายอาแแซ สามะ
5.นางนอไรซีย๊ะ สาอะ

โรงเรียนบ้านปะลุรู หมู่.3 ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

60.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

60.00

จากการดำเนินงานคัดกองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2567 มีกลุ่มเป้าหมายประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขต หมู่ 3 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาสเป็นจำนวน 400 คน คัดกรองทั้งหมด 291 คน จากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง แยกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 40 คน กลุ่มเสี่ยง จำนวน 131 คน กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 6 คนและป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน 114 คน จากการคัดกรองโรคเบาหวาน แยกเป็นกลุ่มปกติ จำนวน 238 คนพบกลุ่มเสี่ยง จำนวน 7 คน กลุ่มสงสัยป่วย จำนวน 2 คน และป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 44 จากการคัดกรองได้มีการดำเนินกิจกรรมตามปัญหาสุขภาพในพื้นที่ร่วมกับการใช้หลัก 3 อ. 2 ส. เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเป็นต้นแบบให้กลุ่มเสี่ยงกลุ่มป่วยอื่นๆ ถ้าหากกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนทำให้บั่นทอนชีวิต และสูญเสียค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษา
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 3 ต.ปะลุรู จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดภาวะแทรกซ้อน ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสมและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือด โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง และเพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจติดตามยืนยันเพื่อวินิจฉัยได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้รับความรู้ความเข้าใจ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ได้รับความรู้ความเข้าใจ

60.00 10.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงสูงโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

60.00 10.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัย ในช่วงเวลาที่กำหนด

กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจติดตามยืนยันวินิจฉัย ในช่วงเวลาที่กำหนด

60.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ด้านวิชาการแก่กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง 3อ.2ส.(อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย บุหรี่ สุรา) - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 60 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2,400 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน 5 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการไวนิลขนาด 1.20 เมตร x2.40 เมตร เป็นเงิน 720 บาท - ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน จำนวน 40 คนๆละ 15 บาท เป็นเงิน 600 บาท - ค่ากระเป๋าถุงผ้า จำนวน 40 คนๆ 65 บาทเป็นเงิน 2,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสม
  2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัว/เส้นรอบเอว/ดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีขึ้นกว่าเดิม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11720.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามประเมินซ้ำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยรายใหม่

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินซ้ำกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยรายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ออกตรวจคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง ในชุมชน 2.ติดตามประเมินผลกลุ่มเสี่ยงด้วยวัดความดันโลหิต ระดับน้ำตาล รอบเอว ดัชนีมวลกาย
- เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 1,600 บาท - เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน 1,000 บาท - เครื่องเจาะน้ำตาล จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัว/เส้นรอบเอว/ดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีขึ้นกว่าเดิม
  2. กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจติดตามยืนยันเพื่อวินิจฉัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสม
2. กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง มีน้ำหนักตัว/เส้นรอบเอว/ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือดีขึ้นกว่าเดิม
3. กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการตรวจติดตามยืนยันเพื่อวินิจฉัย


>