กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับพฤติกรรมเปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงตามวิถีชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู และห้องประชุมมัสยิดอัตตะอาวุน ม.3 ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ในปี2567 เป้าหมายประชากร 3๕ ปีขึ้นไป จำนวน 4,563 คน คัดกรองได้ 3,942 คน คิดเป็นร้อยละ 86.39 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 153 คน คิดเป็นร้อยละ 3.35 กลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 1๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๐.๓5ผู้ป่วยรายใหม่2 คน คิดเป็นร้อยละ ๐.04 และพบ กลุ่มสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 194 คน คิดเป็นร้อยละ 4.25ผู้ป่วยรายใหม่ 12คน คิดเป็นร้อยละ ๐.26
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงได้จัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปีงบประมาณ2568 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมายและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปูจำนวน 5 คน , อาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลบางปู จำนวน 50 คน 1.3ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทบทวนความรู้และพิจารณาจัดทำหลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง
1.4เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมจัดทำหลักสูตรเป็นทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง 1.5ประเมินผลการใช้หลักสูตรสรุปผลการดำเนินโครงการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรม 1.ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท
2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 55 คน มื้อละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 3,300 บาท 3.ค่าวิทยากรในการให้ความรู้กับแกนนำเพื่อใช้ในการเป็นพี่เลี้ยงในช่วงดำเนินโครงการในครั้งนี้และในครั้งต่อๆไป 2 คนๆละ 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 2การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง
ขั้นเตรียมการ 1.ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม 2.แจกคู่มือการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 3.บันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยลงในคู่มือการดูแลสุขภาพ พร้อมแบ่งระดับความเสี่ยงเป็นสีต่างๆ ตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย ขั้นดำเนินการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยดำเนินการทั้งหมด 100 คนครั้งละ50คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดำเนินการครั้งที่ 1 กิจกรรมภาคเช้าตรวจสุขภาพเบื้องต้นบันทึกลงในคู่มือสุขภาพของแต่ละคนให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง , ปัจจัยเสี่ยงต่อโรค และภาวะแทรกซ้อนของโรค กิจกรรมภาคบ่ายให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารบำบัดโรคและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ จำนวน 2 วัน
ติดตามครั้งที่ 1 กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นบันทึกลงในคู่มือสุขภาพของแต่ละคน กลุ่มเสี่ยงประเมินสุขภาพตนเองว่าได้ปฏิบัติตัวตามแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา การบรรลุกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หรือไม่โดยมีแกนนำเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยประเมินตนเอง จำนวน2วันวันละครึ่งวันห่างจากดำเนินการครั้งที่ 1 ประมาณ 1 เดือน ติดตามครั้งที่ 2 กิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นบันทึกลงในคู่มือสุขภาพของแต่ละคน กลุ่มเสี่ยงประเมินสุขภาพตนเองว่าได้ปฏิบัติตัวตามแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้เมื่อเดือนที่ผ่านมา การบรรลุกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยมีแกนนำเป็นพี่เลี้ยงในการช่วยประเมินตนเอง จำนวน 2 วันวันละครึ่งวัน ห่างจากติดตามครั้งที่ 1 ประมาณ1 เดือน
งบประมานใช้จ่ายดังนี้ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและติดตาม 2.1.กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2.1.1 ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 ครั้ง สองกลุ่มๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2.1.2ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 30 บาท 2 มื้อ จำนวน 1 ครั้ง สองกลุ่มๆละ3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 2.1.3ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 2 กลุ่ม เป็นเงิน 7,200 บาท
2.1.4ค่าเอกสารประกอบการอบรม/รูปเล่ม ตลอดโครงการ จำนวน 100 คนจำนวน 20 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท
2.1.5ค่าป้ายประชาสัมพันธ์เปิดงาน 1 ป้าย ป้ายละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท 2.1.6ค่าวัสดุอุปกรณ์ ในการทำสื่อ/ทำกิจกรรมตลอดโครงการ เป็นเงิน 1,000 บาท 2.1.7เครื่องวัดองค์ประกอบร่างกาย จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 5000 บาท รวมเป็นเงิน 27,950บาท 2.2.กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดัน ครั้งที่ 1 2.2.2ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 30 บาท 1 มื้อ จำนวนสองกลุ่มๆละ1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท 2.3.กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน/ความดัน ครั้งที่ 2 2.3.2ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 30 บาท 1 มื้อ จำนวนสองกลุ่มๆละ1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33950.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกิจกรรมทำข้อตกลงร่วมกันในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกิจกรรมทำข้อตกลงร่วมกันในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3กิจกรรมตกลงร่วมกันที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและยั่งยืนตลอดไปและกิจกรรมสรุปผลการการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ขั้นเตรียมการ 1. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 2. บันทึกข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยลงในคู่มือการดูแลสุขภาพ พร้อมแบ่งระดับความเสี่ยงเป็นสีต่างๆ ตามข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วย ขั้นดำเนินการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยดำเนินการทั้งหมด 100 คน จำนวน 1 วัน กิจกรรมภาคเช้าตรวจสุขภาพเบื้องต้นบันทึกลงในคู่มือสุขภาพของแต่ละคน วิทยากรสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมภาพรวมกลุ่มรอบ5 เดือน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ร่วมถอดบทเรียน กลุ่มที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบรรลุเป้าหมายได้กลุ่มที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและกลุ่มที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และไม่บรรลุเป้าหมาย กิจกรรมภาคบ่ายกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กีฬามหาสนุก กิจกรรมตกลงร่วมกันที่จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป สุดท้ายประกาศผลบุคคลตัวอย่างที่มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นประเมินจาก ระดับน้ำตาลในเลือดระดับความดันโลหิตขนาดของรอบเอว และค่า BMI พร้อมมอบรางวัล งบประมานค่าใช้จ่ายในกิจกรรมดังนี้ 3.1. ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 1 ครั้ง สองกลุ่มๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 3.2ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน มื้อละ 30 บาท 2 มื้อ จำนวน 1 ครั้ง สองกลุ่มๆละ3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 3.3ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 5 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,000 บาท
3.4ค่าจัดการประกวดบุคคลหลังเข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น ประเมินจากระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต ขนาดของรอบเอว และค่า BMI (กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย) เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน 2.เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 61,450.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
3.มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
4.เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน


>