แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นายประสิทธิ์ แซ่ลู่ ประธาน 087-285-106-0
2. นางสาวสุวรรณา บือนา กรรมการ
3. นางศรีสุคนธ์ แสงทอง กรรมการ
4. นายสมโภชน์ เจนกุลประสูตรกรรมการ
5. นางสาวฟาตีเม๊าะ มะหะหมัด เลขานุการ 084-787-116-9
ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหามลพิษ จากการจัดการของเสียอันตราย หรือ ขยะพิษ ไม่ได้มาตรฐานโดยพบว่า มือถือเก่า โน้ตบุ๊ก แล็ปท็อป ทีวีเก่า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ถูกทิ้งปะปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่ซากชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าโดนถอดแยกชิ้นส่วนแล้วเผาทำลาย เทกอง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ คุณภาพน้ำ สารเคมีอันตรายปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบทางเคมีทั้งปรอท ตะกั่ว หรือโลหะหนัก ล้วนเป็นสารก่อมะเร็งเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนมากยิ่งขึ้น ข้อมูลจากรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย โดยกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ระบุว่าของเสียอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้น 638,000 ตันต่อปี โดยเป็นซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์414,600 ตันต่อปี หรือร้อยละ 65 อีก 223,400 ตัน หรือร้อยละ 35 เป็นของเสียอันตรายประเภทอื่นๆ เช่น แบตเตอรี่ ถ่าน ไฟฉาย ภาชนะบรรจุสารเคมี กระป๋องสเปรย์ของเสียอันตรายเหล่านี้ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง
เพิ่มขึ้นเพียง 83,600 ตัน หรือร้อยละ 13 เท่านั้น ซึ่งในรายงานมลพิษฉบับล่าสุดนี้ ได้ระบุการจัดการยังไม่เพียงพอ ขาดกฎระเบียบที่จะคัดแยกของเสียอันตรายจากขยะทั่วไป และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแล ในการให้ภาคเอกชนรับผิดชอบในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จากปัญหาภาวะมลพิษที่เกิดจากขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความเดือดร้อนและสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
เทศบาลเมืองเบตงมีการรวบรวมขยะอันตรายเพื่อนำส่งไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา โดยในปีงบประมาณ 2567 เทศบาลเมืองเบตงได้รวบรวมขยะอันตรายจากชุมชนได้ประมาณ 2,370 กิโลกรัม โดยยังพบมีขยะอันตรายที่เข้าสู่ระบบฝังกลบขยะ แสดงให้เห็นว่ายังมีขยะอันตรายบางส่วนไม่ได้รับการคัดแยกและรวบรวม ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารพิษของขยะอันตรายลงสู่สิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนชาวเบตงได้ และจากการสำรวจข้อมูลในชุมชนศาลาประชาคมเทศบาลเมืองเบตง พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนได้ทิ้งขยะอันตรายรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไป โดยไม่มีการแยกขยะอันตรายทิ้งต่างหากอย่างไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม การแพร่กระจายของเชื้อโรค สิ่งเหล่านี้ส่งผลร้ายกลับมายังประชาชนในชุมชน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพลดลง
ชุมชนศาลาประชาคมเทศบาลเมืองเบตง ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตราย เพื่อสุขภาพที่ดีของคนเบตง ประจำปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายอย่างถูกต้องและปลอดภัยเพื่อรอการรวบรวมไปกำจัดอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อนึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่มาจากขยะอันตรายต่อไป
- 1. กิจกรรมที่ 1. จัดกิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มความรู้ด้านการจัดการ และการกำจัดขยะอันตรายในชุมชนรายละเอียด
เวลา 08.00 – 09.00 น. - ลงทะเบียนและพิธีเปิดการฝึกอบรม
เวลา 09.00 – 12.00 น. - บรรยายความรู้เกี่ยวกับประเภทของสถานการณ์ขยะอันตราย ประเภทของขยะอันตราย โทษ พิษภัยของขยะอันตรายที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพของขยะอันตรายแต่ละประเภทและวิธีการ คัดแยกขยะ รวบรวมขยะอันตราย
เวลา 12.00 - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น - บรรยายวิธีการกำหนดจุดจัดทำแผนที่จุดจัดเก็บและรวบรวมขยะ อันตรายในชุมชน (แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม)
เวลา 14.00 – 16.00 น. - จัดฝึกปฏิบัติวิธีการคัดแยกขยะอันตรายจากชุมชนแต่ละประเภท (แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม)
เวลา 16.00 – 16.30 น. - ลงพื้นที่เดินรณรงค์เคาะประตูบ้าน การคัดแยกขยะอันตรายในชุมชน<br />
และกิจกรรมขยะอันตรายแลกไข่
งบประมาณ 10,530.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน รวบรวมขยะอันตรายโดยการสร้างแรงจูงใจ พร้อมทั้งติดตั้งตู้รองรับขยะอันตรายรายละเอียด
กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้าน รวบรวมขยะอันตรายโดยการสร้างแรงจูงใจ พร้อมทั้งติดตั้งตู้รองรับขยะอันตราย - ตู้เหล็กรองรับขยะอันตราย จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เช่น ไข่ น้ำปลา ฯ เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลจุดรวบรวมขยะประจำชุมชน ขนาด 1.80x2.40 เมตร จำนวน 1 ผืน
เป็นเงิน 1,080 บาท -ค่าแผ่นพับสีให้ความรู้และประชาสัมพันธ์จุดรวบรวมขยะอันตราย จำนวน 400 แผ่น
เป็นเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 17,080 บาท *หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการงบประมาณ 17,080.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 เมษายน 2568
ชุมชนศาลาประชาคม
รวมงบประมาณโครงการ 27,610.00 บาท
หมายเหตุ : *หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ
- ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการคัดแยกขยะอันตรายออกจากขยะประเภทอื่น ที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
- ประชาชนในชุมชนมีการคัดแยกและรวบรวมขยะอันตรายออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนนำไปแยกกำจัดอย่างถูกวิธี
- ประชาชนในชุมชนมีถังขยะอันตรายและขยะติดเชื้อไว้รองรับขยะในชุมชน
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................