2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนตำบลกาวะ ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้น ๆ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ตัน เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดสมองแตก ไตวาย ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารไม่สมดุล เกินความต้องการของร่างกาย และเป็นอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนสะสมในผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้ง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป นิยมอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งอาหารตามร้านนอกบ้านที่ปรุงอาหารคำนึงถึงแต่รสชาติแต่ไม่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค การขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อย อ้วน มีความเครียด เป็นต้น
โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ซึ่งในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่ออื่นๆ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดโรคเรื้อรังนี้ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีระยะเวลาของการฟักตัวของโรคที่ยาวนาน อาการของโรคไม่ปรากฏชัดเจน จนกระทั่งมาถึงพัฒนาการของโรคในขั้นที่มีผลรุนแรงต่อร่างกาย เมื่อเป็นโรคเหล่านี้แล้วนั้น ส่วนใหญ่จะไม่หายขาด อีกทั้งพยาธิสภาพในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับคืนมายังสภาพปกติได้อีกเลย ซึ่งในกระบวนการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกาวะ (อสม.ตำบลกาวะ) ซึ่งผลจากการคัดกรองจะแบ่งกลุ่มได้เป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยในกลุ่มปกติ จะเน้นการส่งเสริมการปฏิบัติตัวให้ดีต่อไป สำหรับกลุ่มเสี่ยง จะมีระบบส่งต่อโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ของสถานบริการ สำหรับกลุ่มป่วย จะได้รับการบริการในคลินิก โรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของสถานบริการเช่นกัน ซึ่งนอกจากกระบวนการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีในสถานบริการแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพในระดับชุมชน หรือหมู่บ้านโดยการนำเสนอสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ชุมชนได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ
ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกาวะ (อสม.ตำบลกาวะ) จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพประชาชนตำบลกาวะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลกาวะ ให้มีภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพ การจัดการความเครียด อาหาร และการป้องกันโรคต่าง ๆ
2. ประชาชนได้รับการตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรคมากขึ้น
3. ประชาชนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นในครอบครัวได้