กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้สูงอายุในพื้นที่มีโรคเข่าเสือม

 

10.00

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ปัจจุบันอัตราการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ ซึ่งมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญ ได้แก่ ปวดข้อ ข้อฝืด มีปุ่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทำงานของข้อเสียไป และการเคลื่อนไหวลดลง ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น รวมทั้งสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคในกลุ่มโรคข้อและกระดูก อาทิ ความเร่งรีบในการใช้ชีวิต ประชากรขาดการใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหาร ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคมากขึ้น หรือ อีกทางหนึ่งคือ ลักษณะการประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน การใช้ชีวิต อิริยาบถท่าทางต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้มีแรงกระทำต่อข้อมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของกระดูก และการสึกกร่อนของข้อ ซึ่งจะเกิดอาการปวดข้อตามมา
แนวทางปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมของราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยการบำบัดโดยไม่ใช้ยา (non-pharmacological therapy) การบำบัดด้วยการใช้ยา (pharmacological therapy) และการบำบัดโดยการผ่าตัด (surgical treatment) นอกจากการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการนำการแพทย์แบบผสมผสานมาใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะศาสตร์การแพทย์แผนไทย ได้แก่ การรักษาด้วยการนวดไทย การประคบสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพรในท้องถิ่นเพื่อลดอาการปวดเข่า รวมถึงการทำหัตถการด้านการแพทย์แผนไทยต่างๆ เช่น การเผายา การกักน้ำมัน และการพอกยา ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส สังกัดกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวังนราธิวาส จึงได้ทำโครงการพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งมีการนำสมุนไพรไทยที่สามารถหาได้ง่ายในชุมชน และมีสรรพคุณในการลดอาการปวด และการอักเสบมาใช้ใน การรักษาอาการปวดเข่า โดยจะเลือกเป็นวิธีการพอกเข่า และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรไทยเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการดูแลสุขภาพของตนเอง อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการรักษา และลดการพึ่งพาการใช้ยาแผนปัจจุบัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบรรเทาอาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมและผู้ป่วยทีมีอาการปวดเข่า

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสือมและผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่าลดลง

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมบรรยายาให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและการดูแลพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
อบรมบรรยายาให้ความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมและการดูแลพอกเข่าด้วยสมุนไพรในผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เลือกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า
  2. คัดกรองผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่า โดยใช้เครื่องมือวัดระดับความเจ็บปวด Visual Rating Scales : VRS (pain scales) โดยผู้ป่วยให้ระดับคะแนนความปวด (pain score) ที่ระดับตั้งแต่ 6 ขึ้นไป
  3. ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ และป้องกันอาการปวดเข่าในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย และสาธิตท่ากายบริหารร่างกายด้วยท่าฤาษีดัดตน
  4. ให้บริการพอกเข่าด้วยสมุนไพร
  5. สรุปผลการดำเนินงาน วัดระดับความเจ็บปวด Visual Rating Scales : VRS (pain scales) ก่อนและหลังการรักษาโดยการพอกเข่าสมุนไพรทุกครั้ง และทำแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการ
  6. งบประมาณ ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 30 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 2 มื้อ x 30 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 3,000 บาท ค่าวิทยากร 4 ชม x 600 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 4,800 บาท ค่าอุปกรณ์และสมุนไพรพอกเข่า เป็นเงิน 9,000 บาท ค่าวัสดุสำหรับโครงการ แฟ้มเอกสาร ขนาด A4 10 บาท + สมุดปกน้ำตาล ขนาดA4 10 บาท ยางลบดินสอสีขาว ขนาดเล็ก 5 บาท + ดินสอ 2B 5 บาท x 30 คน x 2 รุ่น เป็นเงิน 1,800 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่าลดลง
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้นได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และผู้ที่มีอาการปวดเข่ามีอาการปวดเข่าลดลง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าเบื้องต้นได้


>