กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ตำบลบางขุนทอง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.บางขุนทอง

รพ.สต.บางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้ ปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ทำให้มีผลกระทบต่อผู้พิการที่ติดเตียง ติดบ้าน จึงเป็นภาระต่อครอบครัวที่ต้องดูแลผู้พิการติดเตียง ติดบ้าน ส่วนหนึ่งผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง ติดบ้าน ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพและโภชนาการของผู้พิการ ทำให้ผู้พิการบางคนมีโภชนาการขาดสารอาหารและเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร สุขภาพไม่แข็งแรง มีภาวะแทรกซ้อน และบางส่วนถูกทอดทิ้งให้ดำเนินชีวิตอยู่ที่บ้านตามลำพัง เนื่องจากบุคคลในครอบครัวต้องไปประกอบอาชีพนอกบ้านหรือต่างจังหวัด นับเป็นปัญหาที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงเพิ่มศักยภาพของผู้ดูแลในการดูแลผู็พิการได้อย่างเหมาะสม และได้พัฒนารูปแบบกระบวนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ อันประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสุขภาพและการธำรงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของสุขภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และสังคม โดยอสม.มีส่วนร่วมในการดูแล แกนนำเป็นเสมือนญาติ เพื่อนบ้านที่อยู่ในชุมชนเดียวกัน จะมีข้อมูลผู้ป่วยในครัวเรือนที่รับผิดชอบของตนเองและมีสัมพันธ์ภาพกับคนในครอบครัวของผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่จะนำไปสู่การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบองค์รวมได้ดีขึ้น เพื่อที่จะลดภาวะแทรกซ้อนหรือโรคที่เกิดจากการดูแลที่ไม่ถูกต้อง จึงต้องมีการพัฒนาศักยภาพ แกนนำ/จิตอาสา โดยมุ่งเน้นพัฒนาด้านองค์ความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ผู้พิการและผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม โดยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน คิดร่วมทำต่อไป ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำและอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ ติดเตียง ติดบ้าน และสนับสนุนอาหารเสริมสำหรับผู้พิการติดเตียง ติดบ้านและเน้นการเยี่ยมบ้าน ประเมินโภชนการ ตรวจสุขภาพให้กับผู้พิการติดเตียง ติดบ้าน ตลอดจนเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายและผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส

จำนวนเครือข่าย รพ.สต.บางขุนทอง ตำบลบางขุนทอง

0.00
2 2.ผู้ดูแลในเครือข่ายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 70 ของผู้ดูแล มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

0.00
3 3.เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายผู้สูงอายุให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมีการปฏิบัติงานต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ร้อยละ 60 ชมรมผู้สูงอายุให้เข้มแข็งและมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 30
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง โรคสำคัญ โรคเรื้อรัง และ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย เรื่อง โรคสำคัญ โรคเรื้อรัง และ การดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 80 คน คนละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 3.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 570 บาท 4.ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13770.00

กิจกรรมที่ 2 สาธิตและฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
สาธิตและฝึกปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย/ผู้สูงอายุอย่างปลอดภัย การอุ้ม พยุง พาเดิน ย้ายจากเตียงไปรถเข็น การใช้เครื่องมือช่วยพยุง
  • การดูแลทำความสะอาดร่างกาย การเช็ดตัว การอาบน้ำบนเตียง การดูแลช่องปาก ผม เล็บ และผิวหนัง
  • การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  • การดูแลสภาพจิตใจ
  • การให้อาหารและน้ำ ป้อนอาหารทางปากอย่างปลอดภัย
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส กับทีมเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส กับทีมเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส อย่างมีประสิธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,770.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้พิการและผู้สูงอายุในชุมชนได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และฟื้นฟูร่างกาย ได้อย่างต่อเนื่อง 2.ส่งเสริมให้ผู้พิการและผู้สูงอายุให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพของตนเองและความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดอันตรายและลดความพิการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
3.ผู้พิการและผู้สูงอายุมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อให้ดำรงอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า


>