2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบ ของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด เป็นต้น ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ใน แต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้อง รักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง ในกลุ่มโรคความดันโลหิตสูงยิ่งคัดกรองมากก็จะพบ กลุ่มเสี่ยงและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยก็มีอัตราเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวทางแก้ไข ต้องดำเนินการให้เป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่การคัดกรอง จากนั้นนำมาจัดกลุ่ม ดี เสี่ยง ป่วย ในกลุ่มป่วยต้อง ดำเนินการให้การรักษา ต้องมีการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านให้ครอบคลุม แต่ถ้าหากจะใช้เจ้าหน้าที่ เพียงฝ่ายเดียวคงไม่เพียงพอจึงต้องบูรณาการให้ทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน จากสถานการณ์โรค ไม่ติดต่อเรื้องรัง(NCDs) แนวโน้มอัตราป่วยรายใหม่ DM และ HT ในจังหวัดปัตตานี รอบ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2567) 1,353.01 ต่อประชากร 100,000 คน พบว่าอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ เท่ากับ 474.9,894.7,464.2,487.1 ต่อแสนประชากรตามลำดับ ส่วนอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ เท่ากับ 1,068.4, 1,317.5, 1,323.6, 1,212.2 ต่อแสนประชากรตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอัตรา ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงจากปีก่อน แต่ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ดังนั้น เพื่อให้ประชาชน ในเขตพื้นที่ตำบลสะกำได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดีอย่างยั่งยืน และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลสะกำ จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวานความดันและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงในตำบลสะกำ ประจำปี 2568ขึ้น
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ ความดันโลหิตสูง
2. ร้อยละ 80 ของประชาชนที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและพบว่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
3. ร้อยละ 100 ของประชาชนที่ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและพบว่า เสี่ยงสูง ได้รับการส่งต่อตามแนวทาง
4. ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ไม่เกินร้อยละ 1.75
5. ร้อยละ 60 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามวัดความดัน โลหิตที่บ้าน