กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยเรียน วัยใส ห่างไกลบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

รพ.สต.บ้านท่ากูโบ

1.นางฮานีซะ แวสอเฮาะ
2.นางสาวอามีเนาะ ลีเยาะบิง
3.นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4.นางสาวรอซีดะห์ วะตะกี
5.นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปี ภาคเหนือ

 

12.12
2 การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

34.30
3 การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปีภาคกลาง

 

25.40
4 การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปี ภาคใต้

 

18.50
5 การสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปี กรุงเทพมหานคร

 

9.60

วัยรุ่น หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีอายุ 9 - 19 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และพฤติกรรม เป็นช่วงรอยต่อของความเป็นเด็กและผู้ใหญ่ โดยมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ มีพัฒนาการทางร่างกาย มีพัฒนาการด้านจิตใจ และมีการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจสังคม วัยรุ่นเป็นวัยที่อาจถูกชักจูงได้ง่าย ขาดความนับถือตนเอง รวมถึงขาดทักษะชีวิต ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงในด้านต่างๆ เช่น การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการสูบบุหรี่
จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ.2564 พบว่าการสูบบุหรี่ของเยาวชนไทย อายุ 15- 24 ปี ทั่วประเทศ 9,163,128 คน มีผู้สูบบุหรี่ 1,161,514 คนประกอบ ภาคเหนือ 12.12 %ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 34.3 % ภาคกลาง 25.4 %ภาคใต้ 18.5 % และกรุงเทพมหานคร 9.6%สูบมากที่สุดคือเพศชาย 97.9% และเพศหญิง 2.1% ซึ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากกว่า 80 % ของเยาวชนไทยสูบบุหรี่ทุกวัน และข้อมูลจากการเฝ้าระวังพฤติกรรม สุขภาพ ประเด็นการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย ปี 2566 ของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำรวจเด็กและ เยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปี จำนวน 61,688 คน พบว่า ภาพรวมของ เยาวชนทั่วประเทศ 25% เป็นผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของ จำนวนประชากรทั้งหมด สอดคล้องกับข้อมูลการสำรวจการบริโภค ผลิตภัณฑ์ยาสูบ Global Youth Tobacco Survey : GYTS ปี 2565 ของไทย ในกลุ่มนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี ที่เดิมอยู่ 17.6% ขณะที่ผลการสำรวจพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของ โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในภาคกลาง กลุ่มตัวอย่าง 152 คน ช่วงเดือน ม.ค. 2567 โดยนักศึกษาแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี พบข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับสาเหตุของการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเด็ก ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 - 5 โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15 เคยถูก คนในครอบครัวแนะนำหรือให้ทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้า ขณะที่กลุ่มเด็กที่เคย สูบบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 73 ระบุว่ามีแหล่งที่มาของบุหรี่ไฟฟ้ามาจาก ครอบครัว เพื่อน คนในชุมชน แนะนำ ให้ยืม หรือขายบุหรี่ไฟฟ้าให้ เนื่องจากเข้าใจว่าปลอดภัย เพราะ รูปลักษณ์อุปกรณ์มีความเป็นมิตร
จากสถิติการสูบบุหรี่รวมถึงปัจจุบันวิกฤติบุหรี่ไฟฟ้าเรียกได้ว่าเป็นสึนามิที่ถาโถมเข้ามาในสังคมไทย และเป็นปัญหาที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและมีอำนาจทำลายล้างสูง ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและอันตรายจากบุหรี่ทุกชนิดที่อาจก่อให้เกิดขึ้นกับเยาวชนเหล่านี้ได้โดยง่าย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้วัยรุ่นหรือเยาวชน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษของบุหรี่ทุกชนิด

80

40.00 80.00
2 เพื่อให้วัยรุ่นหรือเยาวชน สามารถดูแลตนเองได้ ห่างไกลจากบุหรี่ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสม

70

40.00 70.00
3 เพื่อให้วัยรุ่นหรือเยาวชน เติบโตตามวัยและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยบุหรี่

100

0.00 100.00
4 เพื่อให้คุณครูสามารถสอดส่องดูแลนักเรียนภายในโรงเรียนให้ห่างไกลบุหรี่ได้

100

0.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 91
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เขียนโครงการเสนอ เพื่ออนุมัติ

ชื่อกิจกรรม
เขียนโครงการเสนอ เพื่ออนุมัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ชี้แจงโครงการให้กับคณะกรรมการโครงการทราบ

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการให้กับคณะกรรมการโครงการทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำป้ายไวนิลโครงการวัยเรียน วันใส ห่างไกลบุหรี่ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำป้ายไวนิลโครงการวัยเรียน วันใส ห่างไกลบุหรี่ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณที่ใช้ ดังรายละเอียด -ค่าป้ายโครการฯ ขนาด 1.2x3 เมตร จำนวน 1 ผืนๆละ 720 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
970.00

กิจกรรมที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง บุหรี่และโทษของบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง บุหรี่และโทษของบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ทำความรู้จักกับบุหรี่ และโทษของบุหรี่แต่ละชนิดต่อร่างกาย 5.2 ให้ความรู้เรื่องบุหรี่และโทษของบุหรี่แต่ละชนิด 5.3 สาธิตอันตรายจากบุหรี่ เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านโมเดลปอด งบประมาณที่ใช้ ดังรายละเอียด รุ่นที่ 1 ณ ที่โรงเรียนพัฒนศึกษา กลุ่มเป้าหมาย 61 คน - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 61 คน มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน3,660บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 61 คน มื้อละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,270 บาท รวมเป็นเงิน 11,530 บาท รุ่นที่ 2 ณ ที่โรงเรียนพระราชดำริศูนย์ครูใต้ กลุ่มเป้าหมาย 30 คน - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน มื้อละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท รวมเป็นเงิน 7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19030.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นหรือเยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบุหรี่และโทษของบุหรี่ทุกชนิด ร้อยละ 80
2. วัยรุ่นหรือเยาวชน สามารถดูแลตนเองได้ ห่างไกลจากบุหรี่ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ70
3. วัยรุ่นหรือเยาวชน เติบโตตามวัยและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลโรคภัยบุหรี่ ร้อยละ 100
4. คุณครูสามารถสอดส่องดูแลนักเรียนภายในโรงเรียนให้ห่างไกลบุหรี่ได้ ร้อยละ 100
5. คุณครูสามารถส่งต่อหากพบนักเรียนสูบบุหรี่ เพื่อเข้าคลินิกเลิกบุหรี่ ร้อยละ 100


>