2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดในการสร้างมนุษย์ให้ก้าวหน้าและมีคุณค่าต่อสังคม เพราะเซลล์ประสาทในสมองของเด็ก อายุ ๓-๖ ปี จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็วมากหรือเป็นช่วง “หน้าต่างแห่งโอกาส” ที่จะพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้าให้สามารถควบคุมความรู้สึก การคิดและการกระทำหรือเรียกว่าทักษะสมอง EF (Executive Funtions) “ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต” เพราะการวางพื้นฐานด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ในช่วงอายุแรกเกิด ถึง ๖ ปี เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตจากผู้ที่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เริ่มตั้งแต่ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และชุมชน ที่จะจะร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพและสร้างพฤติกรรมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับเด็ก
จากการดำเนินงานด้านการประเมินพัฒนาการเด็กอายุ ๐-๕ ปี ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะตา ในปีงบประมาณ ๒๕๖๗ โดยมีการประเมินพัฒนาการครอบคลุมทั้ง ๕ ด้าน ประกอบด้วย ๑.พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ๒.พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา ๓. พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา ๔.พัฒนาการด้านการใช้ภาษา และ๕. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคมและพบว่า เด็กที่เข้ารับการประเมินพัฒนาการทั้งหมด ๒๓๑ ราย พบพัฒนาการสมวัย ๑๙๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗๒.๒๖ สงสัยล่าช้า ๓๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๒๙ ติดตามได้ ๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ๗๒.๗๓ ต้องส่งต่อ ไปยังรพ.ยะรัง ๓ ราย ซึ่งพบพัฒนาการล่าช้าด้านการใช้ภาษา ๑ ราย ด้านการเข้าใจภาษา ๑ ราย และด้านการเคลื่อนไหว ๑ ราย ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนผู้เป็นคนพิการด้านการสื่อสารแล้ว ๑ ราย ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากผู้ปกครองไม่ได้เลี้ยงดูบุตรหลานด้วยตนเอง เนื่องจากต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ ผู้ปกครองไม่มีมีเวลาในการทุ่มเทเลี้ยงดูบุตรหลานอย่างเต็มที่ และผู้ปกครองบางกลุ่มยังไม่เคยได้รับการอบรมความรู้ด้าน EF(Executive Funtions) “ความสามารถของสมองในการบริหารจัดการชีวิต” ทำให้เกิดการละเลยการให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงทำให้เกิดปัญหาเด็กพัฒนาการล่าช้าในด้านต่าง ๆ และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเด็กในอนาคต
ในการนี้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสะตา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ เด็กสะตาเติบโต สมวัย เริ่มที่ EF ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้เด็กอายุ ๐-๕ ปี มีการพัฒนาด้าน EF เหมาะสมตามช่วงวัย
๒. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ด้าน EF แก่ผู้ปกครอง
๓. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองเด็กและเครือข่ายทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาด้าน EF ของเด็ก
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/10/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?๑. เด็กอายุ ๐-๕ ปี มีพัฒนาการด้าน EF เหมาะสมตามช่วงวัย
๒. ผู้ปกครองเด็กอายุ ๐-๕ ปี ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะความรู้ด้าน EF
๓. ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายเด็กมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการด้าน EF ของเด็กในชุมชน