กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ
กลุ่มคน
1. นายทวีปจิรรัตนโสภา ประธานกรรมการ
2. นางชุลีศรีพระจันทร์กรรมการ
3. นายสามารถทับทวี กรรมการ
4. นางพิมพรรณ เต็งมีศรี กรรมการ
5. นางสิริเพ็ญ จันทร์แดง กรรมการ
3.
หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่จะเกิดจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญคือความเจ็บป่วยและความบกพร่องในการทำงานของร่างกายในทุก ๆ ด้าน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพจิตใจ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายจ่ายมหาศาลของประเทศ ดังนั้นเพื่อป้องกันและรับมือแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนในการป้องกันการเจ็บป่วย การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและการเตรียมความพร้อมของผู้สูงวัยเพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีศักยภาพและมีสุขภาวะที่ดี การดูแลและการรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการเตรียมการรองรับหรือการวางแผนที่ดี จะนำมาสู่การเกิดปัญหาหรือวิกฤติในการดูแลผู้สูงอายุ จากผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินและคัดกรองสุขภาพ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Lifelong Learning คือ รูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่เริ่มต้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ด้วยตัวเอง โดยไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหนก็สามารถเรื่องรู้ได้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด การศึกษาเรียนรู้ไม่ได้จบแค่ในโรงเรียนหรือมหาลัยไม่ว่าคุณจะเป็นวัยผู้ใหญ่หรือวัยชราก็ยังสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตัวเอง และ Lifelong Learning เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณก้าวหน้าและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เหตุผลที่เราควรมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ บนโลกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งรอบตัวมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในโลกของเทคโนโลยีและการสื่อสาร การเรียนรู้ตลอดชีวิตทำให้เราปรับตัว และชีวิตอยู่ได้ในวันที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตจะทำให้คุณรู้สึกว่ามีเป้าหมายในการมีชีวิตอยู่ที่ชัดเจนขึ้น ได้โฟกัสกับสิ่งที่คุณสนใจ และช่วยเติมเต็มคุณค่าในการมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความหมายมากขึ้น
ทักษะที่น่าสนใจของการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning Skills)
- Creativity หรือ ความคิดสร้างสรรค์ การมีความคิดสร้างสรรค์ทำให้เราเรียนรู้ได้อย่างไม่มีกรอบและไม่จำกัด รวมถึงช่วยพัฒนาต่อยอดความคิดไปในด้านอื่นๆ อีกด้วย - Problem Solving หรือ การแก้ปัญหา ทักษะการแก้ปัญหาถือเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต รวมถึงการพัฒนาการเรียนรู้เพราะเมื่อใดที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะสามารถแก้ไขได้เป็นอย่างดี - Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ ทักษะการคิดแบบ Critical Thinking เป็นทักษะที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่าง เพราะเราจะกล้าคิด กล้าถามคำถามในสิ่งที่ต่างออกไป นับเป็นทักษะสำคัญในการเรียนรู้ - Leadership หรือ การเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำเป็นทักษะที่จะทำให้เรากล้าคิดกล้าทำและนำความรู้จากสิ่งที่เราเรียนรู้ไปถ่ายถอดให้ผู้อื่นได้อีกด้วย - Communication หรือ การสื่อสาร การสื่อสารเป็นทักษะที่สำคัญไม่ว่าคุณจะทำอะไรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่การเรียนรู้หรือทำธุรกิจล้วนอยู่ในรูปแบบออนไลน์ การพัฒนาด้านการตลาดออนไลน์ก็จะยิ่งช่วยให้สื่อสารไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ - Collaboration หรือ การประสานงาน นอกจากทักษะที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองแล้วการประสานงานหรือการทำงานกับผู้อื่นก็เป็นส่วนที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเอง ก้าวหน้า และมองเห็นภาพรวมมากขึ้น - Information Management หรือ การจัดการข้อมูล ในยุคที่มีข้อมูลมากมาย เราในฐานะผู้รับข้อมูลสามารถที่จะเลือกรับได้อย่างไม่จำกัด ทำให้การเรียนรู้มีมากมาย การจัดการข้อมูลและนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในหลาย ๆ ด้านและนำไปใช้ในอนาคต - Adaptability หรือ การปรับตัว การปรับตัวเป็นทักษะสำคัญในยุคปัจจุบันเพราะโลกและเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การปรับตัวและเรียนรู้เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบคาดเดาไม่ได้ในอนาคต - Curiosity หรือ ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากรู้อยากเห็นเป็นประโยชน์ในการแสวงหาความรู้ การกระหายความรู้เป็นสิ่งที่จะทำให้เราพัฒนาและเรียนรู้ทักษะต่างๆ ได้ตลอดชีวิต สืบค้น https://www.hcu.ac.th/article/%20(Lifelong%20Learning) 6 ธันวาคม 2567 ผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง ประสบกับปัญหาความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับข้อมูลข้างต้น ที่ส่งผลต่อสุขภาพกาย ไม่ว่าจะเป็นด้านโรคภัยการเข้าถึงรักษา การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย การโภชนาการที่อาหารมีจำกัดไม่สามารถออกไปจับจ่ายซื้อหาได้อย่างสะดวก และสุขภาพจิต การขาดความปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สังคมขาดทักษะที่สร้างความสัมพันธ์ทันยุคสมัย ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองเบตง ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง มีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดีมีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และท้ายที่สุดโรงเรียนผู้สูงอายุสร้างระบบการดูแลสุขภาพสุขภาพและผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
    ตัวชี้วัด : - นักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ ร้อยละ 80 มีสุขภาพกายและใจดีขึ้น
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้ารับการอบรมมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อสร้างระบบสุขภาพที่ดีสำหรับผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด :
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต
    รายละเอียด
    1. วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1.1 ขั้นวางแผน 1.1.1 เชิญประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ                และคณะกรรมการโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567
          1.1.2 ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการวางแผนงานร่วมกัน ระหว่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ  โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเบตง หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กองสวัสดิการและสังคม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หน่วยพยาบาลปฐมภูมิ โรงพยาบาลเบตง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางเนื้อหาการอบรม วันที่และสถานที่ดำเนินการ
          1.1.3 เสนอโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณขับเคลื่อนโครงการจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา     1.1.4 ประสานงานวิทยากรผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง     1.1.5 จัดเตรียมสถานที่และจัดเตรียมกลุ่มเป้าหมาย 1.2 ขั้นดำเนินการ     1.2.1 กิจกรรมเฝ้าระวังภาวะสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข     1.2.2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ และอบรมให้ความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย แก่ผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง ควบคู่การสร้างบรรยากาศความสุข เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสุขในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น 1.3 ขั้นประเมินผลและสรุปโครงการ 1.3.1 ประเมินผลดำเนินการ 1.3.2 สรุปผลดำเนินการ 1.3.3 รายงานผลดำเนินการตามขั้นตอน
    งบประมาณ 272,862.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 4 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 272,862.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วย ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ปัญญา) ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง
  2. ผู้สูงอายุมีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนวัยเดียวกัน มีสุขภาพจิตที่ดี มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
  3. โรงเรียนผู้สูงอายุสร้างระบบการดูแลสุขภาพสุขภาพ และผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161

อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 272,862.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................