กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี มีวินัย ด้วยปันจักสีลัต 68

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

โรงเรียนบ้านปะกาลือสง

โรงเรียนบ้านปะกาลือสง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาสุขภาพเด็กวัยเรียน ในช่วงอายุระหว่าง 6-12 ปี ย่อมสร้างความกังวลใจให้กับพ่อแม่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กวัยเรียน ยังไม่สมบูรณ์พอที่จะต้านทานโรคได้ และการอยู่ร่วมกับเพื่อน ๆ ในห้องเรียนอาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายและติดต่อกันได้ง่าย จึงทำให้ป่วยบ่อย โดยโรคที่มักพบในเด็กวัยเรียน เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นต่างๆ ภาวะทางทุพโชนาการ โรคฟันผุ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคมือเท้าปาก โรคท้องร่วง ฯลฯ และเป็นวัยที่มีความต้องการพัฒนาทางด้านร่างกาย มีความอยากรู้อยากเห็น มีการเรียนรู้ทางสังคม การอยู่ร่วมกับคนอื่นๆนอกเหนือจากบุคคลในครอบครัว เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีหากได้ปลูกฝังและเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะทำให้เด็กหรือเยาวชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง นอกจากจากเรื่องโรคแล้วปัจจุบันภัยคุกคามสุขภาพที่มีผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่ได้คือเด็กหลายคนติดโทรศัพท์ เล่นเกมส์ ออนไลน์ เป็นจำนวนมากนับวันยิ่งมีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้นทางโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการสุขภาพดี มีวินัย ด้วยปันจักสีลัต เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง มีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามสุขภาพ ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหว ขยับกายอย่างต่อเนื่องด้วยกีฬาปันจักสีลัต ตามรายละเอียดโครงการ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และความสามารถในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามสุขภาพ

อัตราป่วยด้วยโรคต่างๆลดน้อยลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

100.00 0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมเคลื่อนไหว ขยับกายอย่างต่อเนื่องด้วยกีฬาปันจักสีลัต มีสุขภาพที่แข็งแรงมีการเติบโตและพัฒนาการตามวัย

ร้อยละ 90 ของนักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรงมีการเติบโตและพัฒนาการตามวัย

100.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสุขภาพเบื้องต้น

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพเบื้องต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจภาวะซีด ตรวจวัดสายตา ตรวจสุขภาพช่องปากและอื่นๆตามที่สำนักงานกำหนด งบประมาณ - ไม่ต้องใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อมูลทางสุขภาพเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและได้เน้นเฉพาะราย
  2. มีการติดตามสุขภาวะของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
ชุมชนมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการแก่ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียนเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมที่โรงเรียนจัด ตามแผนการประชุมต่างๆ งบประมาณ - ใช้งบประมาณอื่นๆที่โรงเรียนมี

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ชุมชนมีส่วนร่วม
  2. ผู้ปกครองเข้าใจและส่งเสริมในกิจกรรมโครงการ
  3. สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้ปรับทัศนคติ

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้ปรับทัศนคติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “สุขภาพอันพึงค์ประสงค์ในวัยเรียน” การดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเองให้ห่างไกลในเรื่อง อุบัติเหตุจากการเล่นต่างๆ ภาวะทางทุพโชนาการ โรคฟันผุ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคมือเท้าปาก โรคท้องร่วง ติดโทรศัพท์ เล่นเกมส์ออนไลน์ ฯลฯ งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 35 บาท x 2 มื้อ   เป็นเงิน  7,000 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น สมุด ปากกา ดินสอ    ยางลบ แฟ้มเอกสาร และอื่นๆ   จำนวน 100 ชุด x 30 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท
- ไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ  (ขนาด 1.20 m x 2.40 m)  เป็นเงิน 720 บาท
- ค่าวิทยากร 5 ชม x 600 บาท  เป็นเงิน 3,000 บาท
                      รวมเป็นเงิน 13,720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น มีทัศนคติที่ดีขึ้น ทำให้มีภูมิองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13720.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมทักษะกีฬาปันจักสีลัต

ชื่อกิจกรรม
อบรมทักษะกีฬาปันจักสีลัต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมทักษะกีฬา ปันจักสีลัตเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการขยับกาย การเคลื่อนไหวทางกาย งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 100 คน x 4 มื้อ เป็นเงิน  14,000 บาท - ค่าวิทยากร 10 ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน  6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของกีฬาปันจักสีลัตความสามารถป้องกันตัว ดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อภัยคุกคามสุขภาพ
  2. นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการแสดงท่าทางปันจักสีลัตขั้นสูง พร้อมทั้งฝึกการสร้างสรรค์ท่าทางการต่อสู้แบบเป็นทีม
  3. ได้ฝึกซ้อมทำการแข่งขัน การเสริมทักษะในการต่อสู้จริง และการเตรียมพร้อมจิตใจสำหรับการเข้าสู่การแข่งขันระดับจังหวัดและระดับชาติ
  4. นักเรียนเข้าใจพื้นฐานของปันจักสีลัตและสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย โดยกีฬาปันจักสีลัต อย่างต่อเนื่อง นักเรียนทำกิจกรรม ขยับกาย ช่วงกิจกรรมหน้าเสาธง สัปดาห์ละ 2 วัน งบประมาณ - ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. นักเรียนมีการเคลื่อนไหวที่ความคล่องตัว
  2. นักเรียนได้ฝึกสมาธิ  กำลังกาย  มีความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 33,720.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
1. คัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น (วัดน้ำหนัก ส่วนสูงคัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก ตรวจภาวะซีด ตรวจวัดสายตา ตรวจสุขภาพช่องปากและอื่นๆตามที่สำนักงานกำหนด)
2. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ตัวแทนผู้ปกครอง คณะกรรมการโรงเรียน
3. จัดอบรมให้ความรู้หัวข้อเรื่อง “สุขภาพอันพึงค์ประสงค์ในวัยเรียน” การดูแลสุขภาพร่างกายด้วยตนเองให้ห่างไกลในเรื่อง อุบัติเหตุจากการเล่นต่างๆ ภาวะทางทุพโชนาการ โรคฟันผุ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ โรคมือเท้าปาก โรคท้องร่วง ติดโทรศัพท์ เล่นเกมส์ออนไลน์ ฯลฯ
4. จัดอบรมทักษะกีฬา ปันจักสีลัต (เพิ่มทางเลือกในการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย)
5. จัดกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหว ขยับกาย
6. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่ดีตามวัยของเด็กในวัยเรียน
2. ผู้ปกครอง ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย
3. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยกีฬาปันจักสีลัต เป็นทางเลือกอีกประเภทกีฬาหนึ่งที่นักเรียนสามารถนำไปใช้และฝึกต่อไป
4. นักเรียนมีความรู้เรื่องสุขภาพเพิ่มขึ้น เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ มีภูมิคุ้มกันที่ดี
5. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ร่างกายแข็งแรง มีพัฒนาการทางร่างกายและการเรียนรู้ปกติ


>