2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้ขับเคลื่อนโครงการมหัศจรรย์1000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพของสตรีและเด็กปฐมวัยไทย โดยมีชุมชน ท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนงานผ่านกลไกและมาตรการที่มีอยู่ในพื้นที่รวมถึงส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมสำคัญ กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน การพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุข ทั้งคลินิกฝากครรภ์ (ANC) และคลินิกเด็กสุขภาพดี (WCC) เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร และเด็กอายุ 0 – 2 ปี ทุกคน ได้รับบริการครบถ้วนและดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ทอดทิ้งกลุ่มด้อยโอกาส และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่ายภายใต้ การบูรณาการความร่วมมือ กลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการร่วมขับเคลื่อน การดาเนินงานการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ในกลุ่มเด็กปฐมวัยโดยร่วมกันผลักดันการดาเนินงานในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดาเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลลุ่มเป้าหมาย ในระดับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย รวมถึงเป้าหมายการบูรณาการความร่วมมือกลุ่มเด็กปฐมวัย 6 กระทรวง จึงเกิดความร่วมมือของผ่านภาคีเครือข่ายในการยกระดับการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต เป็น มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน
สถานการณ์ด้านสุขภาวะของเด็กในตำบลตุยงอำภอหนองจิก เป็นความท้าทาย ในหลายประการ ทั้งปัญหาการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และปัญหาสถานะสุขภาพความอยู่ดีมีสุขของเด็ก ในหลายมิติ อาทิเช่น ภาวะโลหิตจางในเด็กเล็ก ภาวะทุบโภชนาการ (ขาด - เกิน)และพัฒนาการล่าช้าในด้านภาษาของเด็กในพื้นที่ ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนทุกกลุ่มวัยในอนาคต กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลหนองจิกได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการตำบลมหัศจรรย์ 2500 วัน ตั้งแต่ปี 2566 ซึ่งการดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มหญิงมีครรภ์ ผู้ปกครองและเด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการดูแลสุขภาพทั้ง5ด้านคือ โภชนาการ พัฒนาการ วัคซีน สุขภาพฟัน ภาวะซีด เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและผลลัพธ์ที่ส่งผลดีด้านสุขภาพแก่เด็กๆในตำบลตุยงต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ
1. จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย ของตำบลตุยงถึงแนวทางการดำเนินงานตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่ 2,500 วัน ปี 2568
2. จัดอบรบให้ความรู้ในการดูแลส่งเสริมสุขภาพในเด็กเล็กทั้ง 5 ด้าน คือ โภชนาการ พัฒนาการ วัคซีน สุขภาพฟัน ภาวะซีด ให้แก่ อสม.หญิงมีครรภ์ ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองผู้เลี้ยงดูเด็ก
3. จัดทำข้อมูลเด็ก 0-5 ปี ที่อยู่ในพื้นที่ให้ เป็นปัจจุบันและตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการ เด็ก 0-5 ปีและภาวะซีดแบบเชิงรุกในชุมชนโดยคณะทำงานสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัว.และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพงานบริการ
สาธารณสุข และงานบริการด้านสังคม.
4. ประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ตำบลตุยงผ่านเกณฑ์การประเมินตำบลมหัศจรรย์ 2,500 วัน
2. เด็ก 0-5 ปี ในตำบลตุยงได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องและมีมีสุขภาพดี