กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก

หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน กองการศึกษาฯ

สำนักงานเลขาฯกองทุน อบต.บ้านนอก

อบต.บ้านนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านนอกเป็นกองทุนที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ซึ่งส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะและเป็นกลไกในการเสริมสร้างพลังให้กับภาคท้องถิ่นและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมและป้องกันปัญหาด้านสุขภพของชุมชน ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรชุมชน เพื่อให้บุคคลสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการกองทุนฯ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เป็นไปตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อาศัยความตามข้อ 10(4) ของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแต่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2561 กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนอกประจำปี 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ข้อที่ 1 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ข้อที่ 2 เพื่อให้คณะกรรมการกองทุนและแกนนำชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกัน สามารถนำมาเสนอจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/10/2024

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านนอก

ชื่อกิจกรรม
โครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บ้านนอก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ  จำนวน 5 ครั้ง/ปี
  2. กิจกรรมประชุมคณะกรรมการฯ (LTC)
    จำนวน 2 ครั้ง/ปี 3.จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ 4.จัดส่งคณะกรรมการไปอบรมกับหน่วยงานอื่น ๆ -ค่าตอบแทนคณะกรรมการฯ จำนวน 18 คน จำนวน 400 บาท/คน/ครั้ง จำนวน 5 ครั้ง                      เป็นเงิน 36,000 บาท -ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน จำนวน 7 คน จำนวน 300 บาท/คน/ครั้ง
    จำนวน 5 ครั้ง
                         เป็นเงิน 10,500 บาท -ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมฯ(LTC)และผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 10 คน จำนวน 300 บาท/คน/ครั้ง จำนวน 2 ครั้ง               เป็นเงิน 6,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคณะกรรมการ
    คณะอนุกรรมการ และผู้เข้าร่วมประชุม
    จำนวน 25 บาท/คน/มื้อ (18x5x25)+ (7x5x25)+(10x2x25)
                          เป็นเงิน  3,625 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานคอมพิวเตอร์ตั้งโตะ,เครื่องปริ้นและค่าวัสดุอุปการณ์อื่นๆ เป็นเงิน 38,875.- บาท

หมายเหตุ สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ กิจกรรมที่ 1 ครั้งที่1 พฤศจิกายน 67 ครั้งที่ 2 มกราคม 68 ครั้งที่ 3 เมษายน 68 ครั้งที่ 4 กรกฎาคม 68 ครั้งที่ 5 กันยายน 68

กิจกรรมที่ 2 ครั้งที่ 1  ............. ครั้งที่ 2  ............

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กองทุนฯมีประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน คณะกรรมการกองทุนและแกนนำชุมชน สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกัน สามารถนำมาเสนอจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพได้อย่างถูกต้องและโปร่งใส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
95000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 95,000.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

การบริหารจัดการกองทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด


>