กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

20.80
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

12.75

โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรทั่วโลก ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคความ ดันโลหิตสูงถึง 7.5 ล้านคน และมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 ความชุกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน ในประเทศไทย ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ15 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านคน ในปี 2552 เป็น 13 ล้านคนในปี 2571และเกือบครึ่งหนึ่งไม่ทราบว่าตนเองป่วยด้วยโรคนี้ จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเกือบ 4 ล้านคนในปี 2556 เป็นเกือบ 6 ล้านคนในปี2561จำนวนผู้เสียชีวิต จากโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับจำนวนผู้ป่วย จาก 5,186 คนในปี 2556เป็น 8,525 คน ในปี 2560 ปี 2557 มีการประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล พบว่าประเทศไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบ 80,000 ล้านบาทต่อปีต่อจำนวนผู้ป่วยประมาณการ 10 ล้านคน จะเห็นได้ว่าโรคความดันโลหิตสูงยังคงเป็นปัญหา สุขภาพที่สำคัญ สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2559 - 2561 จังหวัดพัทลุง มีจำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ดังนี้ 52,290 คน, 55,955 คน และ6,116 คน และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของประชากรกลุ่มอายุ 3๕ปีขึ้นไป ในตำบลปันแต มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2561-2567 จำนวน 1,101.93, 1,023.39,1,202.67,973.55,810.37,997.87,1473.24 อัตราต่อแสนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นกัน
ซึ่งจากการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ในแต่ละปีพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปีโดยในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 3๕ ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการติดตามจำนวน 222 คน ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 10.36จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน
ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยการคัดกรองโรคเป็นการเฝ้าระวังที่สำคัญ ทำให้ประชาชนได้รู้ภาวะสุขภาพของตนเองนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพตามข้อมูลของแต่ละบุคคลเมื่อประชาชนเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงตามหลัก 3อ.2ส. ในกลุ่มเสี่ยงติดตามวัดความดัน และในกลุ่มป่วยติดตามการการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและตรวจสุขภาพก็จะนำไปสู่สุขภาพที่ดีของประชาชนในตำบลปันแตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวาน

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95

19.63 95.00
2 เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง (3อ 2ส + อ้วน/น้ำหนักเกิน) ในประชากร/ชุมชน

-กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ 2ส -ลดกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง -ลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

19.63 85.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วย 3 อ 2 ส

กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีความรอบรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก
3อ 2ส ร้อยละ 90

10.36 90.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
  • ลดกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง
  • ลดอัตราป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่
10.36 20.00
5 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน (หัวใจ ไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึมเศร้า) และลดความพิการในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ในการดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อน และได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงตามมาตรฐานการดูแลได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจไต มากกว่า ร้อยละ 80 ได้รับการตรวจMAU ตามเกณฑ์/ประเมิน CVD RISK มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90

42.91 90.00
6 เพื่อลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

42.91 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 778
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,887
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/03/2025

กำหนดเสร็จ : 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
อายุ 35 ปีขึ้นไป - ไม่ใช้งบประมาณ -

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ 95 2.กลุ่มเป้าหมายรับรู้ภาวะสุขภาพตามกลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มปกติได้รับการคัดกรองปีละครั้ง 2.กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้าน(HBP)7วัน       และได้รับความรอบรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการตรวจยืนยันวินิจฉัยมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 90 ผลผลิต -กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตามหลัก 3อ 2ส -ลดกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง -ลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความรอบรู้ สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง - ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรอบรู้ สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส - กิจกรรมอบรมให้ความรู้ กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง - ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 53 คน x 1 มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน  1,325 บาท 2. ค่าเครื่องวัดความเค็มจำนวน 2 เครื่อง x 1,200 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรอบรู้ร้อยละ 90 - กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยมีความรอบรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก
3อ 2ส ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ - ลดกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง - ลดอัตราป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3725.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูง และการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ - กิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานและญาติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การดูแลตนเอง การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ - สื่อสารความเสี่ยงภาวะอันตราย เช่น เสี่ยงต่อภาว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคความดันโลหิตสูง และการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ - กิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเบาหวานและญาติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การดูแลตนเอง การใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ - สื่อสารความเสี่ยงภาวะอันตราย เช่น เสี่ยงต่อภาว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและญาติเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรอบรู้ ร้อยละ 90 ผลผลิต
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและญาติมีความรอบรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงและสามารถดูแลตนเองได้
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันได้ตามเกณฑ์ ผลลัพธ์
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  • ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง
  • ลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 - กิจกรรมตรวจและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไต) - ตรวจภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (หัวใจ โรคหัวใจ ไต) ร่วมกับ รพ.ควนขนุน และส่งต่อกรณีพบความผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
- กิจกรรมตรวจและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (หัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไต) - ตรวจภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง (หัวใจ โรคหัวใจ ไต) ร่วมกับ รพ.ควนขนุน และส่งต่อกรณีพบความผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ไม่ใช้งบประมาณ -
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต - ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับความรู้ในการดูแลป้องกันภาวะแทรกซ้อน และได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงตามมาตรฐานการดูแล  ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจไต มากกว่า ร้อยละ 80  ได้รับการตรวจMAU ตามเกณฑ์/ประเมิน CVD RISK มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ - ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 3,725.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่
2. ลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
3. ลดอัตราการตายด้วยโรคความดันโลหิตสูง


>