กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุในเด็ก 1 - 3 ปี ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

รพ.สต.บ้านชะรัด

รพ.สต.บ้านชะรัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กที่มีอายุ 1 ถึง 3 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

40.62

ปัญหาด้านทันตสุขภาพ เป็นปัญหาสำคัญอีกปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่พบได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1 – 3 ปี สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ และส่งผลต่อพัฒนาการ การเจริญเติบโตของเด็กได้นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กแล้ว ยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคต

จากการสำรวจสภาวะช่องปากเด็กอายุ 3 ปีงบ ประมาณ 2567 ในจังหวัดพัทลุง พบว่าช่วงอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ40.60และพบว่าในเขตอำเภอกงหรา ช่วงอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 54.59ซึ่งในเขตตำบลชะรัด พบว่า ในเด็กช่วงอายุ 3 ปี มีฟันน้ำนมผุ ร้อยละ 40.62 แสดงให้เห็นว่า ในกลุ่มเด็ก 1 - 3 ปี มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ยังไม่เหมาะสม อัตราการเกิดฟันผุอาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการส่งเสริมป้องกัน ดังนั้นการส่งเสริมและป้องกันฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่ฟันซี่แรก การส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่สำคัญในช่วงวัยนี้ได้แก่ การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคฟันผุอื่นๆ เช่น การใช้ฟลูออไรด์ชนิดทา ร่วมกับการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ และการให้ทันตสุขศึกษา การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันฟันผุในเด็กต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครอง ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน

ดังนั้นทางกลุ่มงานทันตกรรมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านชะรัด จึงได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันโรคฟันผุ และการดูแลทันตสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุในเด็ก 1 - 3 ปี ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

1.ร้อยละของเด็กอายุ 1-3 ปีที่ได้รับการตรวจช่องปาก และได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันฟันผุมีฟันผุลดลง

40.62 30.50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดประชุมชี้แจงคณะทำงานรายละเอียดวัตถุประสงค์โครงการ และกิจกรรม ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2568 ถึง 10 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ และกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
สร้างองค์ความรู้ให้แก่ผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองทราบ และตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตร และลดโอกาสการเกิดโรคฟันผุในเด็กเล็ก กลุ่มเป้าหมายผู้ปกครอง จำนวน 80 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
- โมเดลตุ๊กตาฟันแท้ 1 ชุดๆละ 2,600 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
-ค่าชุดอุปกรณ์สาธิตการทำความสะอาดช่องปาก แปรงสีฟัน , ยาสีฟัน จำนวน 40 ชุด ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 20 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ปกครองมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตร และตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรมากขึ้น
2.ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและแปรงฟันให้บุตรได้อย่างดูถูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจฟันคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ และเคลือบฟลูออไรด์

ชื่อกิจกรรม
ตรวจฟันคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ และเคลือบฟลูออไรด์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจสุขภาพช่องปาก และคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุ
2.เด็กอายุ 1 - 3 ปีได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช
- ฟลูออไรด์วานิช 3 หลอดละ 1,250 บาท เป็นเงิน 3750 บาท
- พู่กันทาฟลูออไรด์ 7 กล่องๆละ 150 บาท เป็นเงิน 1050 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 20 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และคัดกรองฟันผุ จำนวน 80 คน
2.เด็กได้รับการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุ จำนวน 80 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการ ในเวทีประชุมประจำเดือนอสม. หรือ เวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 สิงหาคม 2568 ถึง 30 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานสามรถสรูปผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ปกครองทราบถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน
2. ผู้ปกครองมีความรู้ มีความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากบุตรหลาน
3. เด็กอายุ 1 - 3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก และได้รับการเคลือบฟลูออไรด์


>