กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการยิ้มอย่างสดใส มั่นใจฟันสวย ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเตงนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2566 พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี ได้รับการตรวจฟัน ร้อยละ 84.70 เป็นช่วงที่มีฟันถาวรขึ้นครบ 28 ซี่ เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ 8 พบว่า ความชุกโรคฟันผุลดลง จากร้อยละ 52.00 เป็นร้อยละ 49.70 ผุเฉลี่ย 1.2 ซี่ต่อคน มีสภาวะเหงือกอักเสบ สูงถึงร้อยละ 80.20 สถานการณ์การเกิดโรคฟันผุลดลงทั้งในภาพรวมประเทศ แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในภาคใต้ โดยพบว่ามีฟันผุระยะเริ่มต้น ร้อยละ 52.70 ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 36.60 และได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน ร้อยละ 34.40 ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีฟันผุ ซึ่งถ้าไม่ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค ปัญหาสุขภาพช่องปากจะสะสมและมีความรุนแรงจนอาจเกิดการสูญเสียฟันถาวรตั้งแต่เด็กได้ แต่อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี มีพฤติกรรมสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม โดยจากรายงานดังกล่าว พบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ร้อยละ 57.80 ไม่เคยแปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียน แปรงฟันก่อนนอนทุกวัน ร้อยละ 57.80 มีพฤติกรรมกินลูกอม สูงถึงร้อยละ 73.60 และมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมากกว่า 2 ครั้งต่อวันขึ้นไปร้อยละ 10.60 กินขนมกรุบกรอบ ร้อยละ 16.10 (แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข, 2568) การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะเริ่มแรกของการเป็นโรค จะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ เด็กส่วนมากมักบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ ช็อคโกแลต ขนมหวานต่างๆ การที่เด็กรับประทานอาหารเหล่านี้เข้าไปจะทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยเรียนเป็นส่วนมาก การที่จะปลูกฝังให้เด็กรักการแปรงฟันนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ออกจากตัวฟันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ปัญหาฟันผุลดน้อยลง การแปรงฟันเป็นวิธีการนำฟลูออไรด์เข้าไปในตัวฟันทำปฏิกิริยากับผิวฟันทำให้ฟันแข็งแรง สามารถหยุดการผุของฟันในระยะเริ่มต้นได้ (กรมอนามัย, 2566) และเพื่อเป็นการส่งเสริมทันตสุขภาพและป้องกันฟันผุ รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมสุขลักษณะนิสัยที่ดี โดยพบว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาลดลง แต่ยังพบว่าจังหวัดยะลามีค่าฟันผุสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ดังนั้น ปัญหาเด็กฟันผุยังคงเป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดยะลาที่ยังต้องดำเนินการแก้ไข ในปีงบประมาณ 2565 - 2567 มีเด็กอายุ 6 – 12 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 16.44, 45.67 และ 56.86 ตามลำดับ เด็กอายุ 6 - 12 ปี ได้รับบริการทันตกรรม ร้อยละ 26.08, 39.04 และ 55.49 ตามลำดับ (HDC ข้อมูลระบบ 43 แฟ้ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, 2567)นอกจากนี้จากการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก พบว่า ในปีงบประมาณ 2565 – 2567 เด็กอายุ 12 ปี มีฟันผุในฟันแท้ที่ร้อยละ 42.11, 40.63 และ 39.34 ตามลำดับ
งานทันตกรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดกิจกรรมการส่งเสริมดูแลสุขภาพช่องปากในโครงการยิ้มอย่างสดใส มั่นใจฟันสวย ปี 2568 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา โรงเรียนญัณญาวิทย์ และโรงเรียนอิสลาฮียะห์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก เพื่อให้มีความรู้และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ได้ฝึกทักษะและแปรงฟันที่ถูกวิธี และทำให้เกิดโรคฟันผุน้อยลงจะช่วยลดอัตราการเกิดฟันผุ เหงือกอักเสบในช่องปากและเพื่อค้นหาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก เพื่อรับการรักษาหรือส่งต่อผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพทางช่องปากต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพอนามัยช่องปากได้อย่างถูกต้อง
  1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กนักเรียนชั้นประถม มีการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  1. เพื่อติดตามและฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องในเด็กนักเรียนประถม (การแปรงฟันที่ถูกวิธี) หลังรับประทานอาหารกลางวัน ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 302
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านนิบงพัฒนา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 95 คน ×35 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน  3,325  บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร  500 บาท × 3 ชม.            เป็นเงิน 1,500  บาท กิจกรรมที่ 2 ทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน                     จำนวน 95 คน   
- แปรงสีฟัน (ราคา 50 บาท x 95 คน)            เป็นเงิน      4,750  บาท - ยาสีฟัน ขนาด 40 กรัม (ราคา 45 บาท x 95 คน)        เป็นเงิน      4,275  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13850.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนอิสลาฮียะห์

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเด็กนักเรียนโรงเรียนอิสลาฮียะห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 117 คน ×35 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน  4,095  บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร  500 บาท × 3 ชม.            เป็นเงิน 1,500  บาท กิจกรรมที่ 2 ทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน                     จำนวน 117 คน 
- แปรงสีฟัน (ราคา 50 บาท x 117 คน)          เป็นเงิน      5,850  บาท - ยาสีฟัน ขนาด 40 กรัม (ราคา 45 บาท x 117 คน)        เป็นเงิน      5,265  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16710.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มแกนนำนักเรียน (โรงเรียนญัณญาร์วิทย์)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มแกนนำนักเรียน (โรงเรียนญัณญาร์วิทย์)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 การอบรมให้ความรู้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คน ×35 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน  3,150  บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร  500 บาท × 3 ชม.            เป็นเงิน 1,500  บาท กิจกรรมที่ 2 ทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน                     จำนวน 90 คน   
- แปรงสีฟัน (ราคา 50 บาท x 90 คน)            เป็นเงิน      4,500  บาท - ยาสีฟัน ขนาด 40 กรัม (ราคา 45 บาท x 90 คน)        เป็นเงิน      4,050  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 43,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เพื่อให้กลุ่มแกนนำนักเรียนมีความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
2. เด็กวัยเรียนได้ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์เพื่อป้องกันฟันผุ
3. เพื่อให้ทุกกลุ่มอายุมีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและป้องกันฟันผุได้ถูกต้อง


>