2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญของการสร้างภูมิคุ้มกันโรคตามเกณฑ์ เป็นกลวิธีและหลักสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อได้โดยวัคซีนโดยบรรจุไว้ใต้แผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยการให้วัคซีนแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ด้วยการผสมผสานเข้ากับบริการสาธารณสุขตามระบบปกติ จากผลการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภูมิคุ้มกันโรค 3 ปีย้อนหลังพบว่ากลุ่มเป้าหมายของเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พบว่า ปี พ. ศ. 2564, 2565, 2566 เป็นร้อยละ 71.22, 66.72 และ 63.75 ตามลำดับ ซึ่งความครอบคลุมการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะความครอบคลุมการได้รับวัคซีนกลุ่มอายุ1, 2, 3 และ 5ปี ยังต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ประกอบกับความรู้ทัศนคติของผู้ปกครองในการนำบุตรหลานมารับวัคซีนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันยังคงเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานในเชิงลึกส่งผลให้การดำเนินงานสร้างสร้างเสริมสุขภาพภูมิคุ้มกันมีความครอบคลุมไม่บรรลุตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
โดยสถานการณ์โรคระบาด จังหวัดยะลามีผู้ป่วยด้วยโรคไอกรนทั้งหมด 475 ราย อำเภอรามันทั้งหมด 92 ราย แยกเป็นตำบลตะโละหะลอ 16 ราย และสถานการณ์โรคหัด ทั้งหมด 1,835 ราย อำเภอรามันทั้งหมด 74 ราย แยกเป็นตำบลตะโละหะลอ 4 รายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆจากกลุ่มเป้าหมายเด็ก 364 คน เด็กปฏิเสธวัคซีน 40 คน เด็กรับวัคซีนล่าช้า 160 คน หากไม่มีการดำเนินการที่เหมาะสมอาจส่งผลให้เกิดโรคที่ป้องกันได้โดยวัคซีนซึ่งเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ทำให้มีแนวโน้มการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะหะรอเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้กับเด็กอายุ 0-5 ปี จึงจัดทำโครงการหนูน้อย 0-5 ปี สุขภาพดีได้รับวัคซีนครบเกณฑ์ ปี 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครบชุดตามเกณฑ์
2. เพื่อป้องกันและลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3. เพื่อสร้างแรงจูงใจและความตระหนักในเรื่องการรับวัคซีนของบุตรหลานแก่ผู้ปกครอง
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/04/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ครบชุดตามเกณฑ์อายุ
2. ลดการเกิดโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
3. ผู้ปกครองเกิดความตระหนักในการนำบุตรหลานมารับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพิ่มขึ้น