2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็กเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ เด็กในวัยก่อนเรียน เป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์ ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม “ถูกบ่มเพาะตั้งแต่เด็ก จะได้ผู้ใหญ่ที่คิดดี ทำดี พูดดี และฉลาด ด้วยความใส่ใจจาก 2 มือพ่อแม่” ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่างๆที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคตต่อไป อาทิ การส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสม ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญา โดยจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองสภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ในปีงบประมาณ 2567 พบว่าดัชนีส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(ภาวะเตี้ย) เป็นร้อยละ 14.01 และดัชนีน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง(ภาวะผอม สมส่วน) ร้อยละ 09.42 ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มักเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของพ่อแม่หรือผู้ปกครองในการเลือกให้เด็กรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ประสิทธิภาพการทำงานส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนและประเทศชาติอีกด้วย
การตรวจภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและเป็นปัญหาสาธารณสุข ที่สำคัญ ช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กได้แก่ เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีเด็กก่อนวัยเรียนและหญิงตั้งครรภ์ การขาดธาตุเหล็กในทารกและเด็กก่อนวัยเรียนถือว่ามีความสำคัญไม่น้อยกว่าวัยอื่นๆ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเรื้อรังในเด็กวัยนี้ส่งผลต่อพัฒนาการระดับสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ ดังนั้นการตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ป้องกันในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และการให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรกอายุ 6 เดือน โดยจากการดำเนินงานตรวจคัดกรองความเข้มข้นของเลือดเด็กอายุ 6-12 เดือน ในปีงบประมาณ 2567 พบว่าได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด จำนวน 16 ราย พบภาวะซีดจำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.25 ซึ่งเด็กดังกล่าวได้รับการรักษาโดยการรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก และนัดตรวจซ้ำ พบผลเลือดปกติ ร้อยละ 87.50 เล็งเห็นความสำคัญของการคัดกรองภาวะซีด ซึ่งก่อนนหน้านี้ได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองยังน้อยและไม่ต่อเนื่อง บางกรณีได้รับปฏิเสธเนื่องความไม่ให้ความสำคัญและความเข้าอย่างถ่อมแท้
และส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน พัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย การสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ0-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน โดยจากการประเมินพัฒนาการในเด็ก 9-60 เดือน(5 ปี) ปีงบประมาณ 2567 พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ 10.78 นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กกว่าร้อยละ 80 ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และไม่ให้ความสำตัญในการประเมิน ส่งเสริม และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ
ในการนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละหะลอ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการแบบบูรณาการ 3 ด้าน ด้านสภาวะโภชนาการ ด้านตรวจภาวะซีดหรือภาวะโลหิตจาง(Hct) และด้านพัฒนาการ โดยเฉพาะสัญญาณเตือน(Red Flag) ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาเครื่องมือให้อาสาสมัครสาธารณสุขช่วยเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยตามช่วงอายุเพื่อช่วยค้นหาเด็กที่มีผิดปกติด้านต่างๆเร็วขึ้น และผู้ปกครองให้ความสำคัญและความตระหนัก ในการนำบุตรหลานเข้ารับการตรวจและให้ความร่วมมือ จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายใจ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมการเรียนรู้ประสบการณ์ของชีวิตต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความตระหนัก เกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพเด็กดี ด้านโภชนาการ เฝ้าระวังโลหิตจาง และสัญญาณเตือน(Red Flag)ด้านพัฒนาการ เด็กเล็กอายุ0 - 5 ปี
2. เพื่อเสริมทักษะการติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กเล็กอายุ 0 – 5 ปี ของอาสาสมัครสาธารณสุข เพื่อเป็นพี่เลี้ยงในการติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กในเขตพื้นที่ที่ตัวเองรับผิดชอบ
3. เพื่อให้เด็กเล็กอายุ ๐ – 5 ปี สูงดีสมส่วน โลหิตไม่ซีด พัฒนาการสมวัย ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/04/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็กให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีความตระหนักเกี่ยวกับการการส่งเสริมสุขภาพเด็กเล็กอายุ ๐ - 5 ปี
2. อาสาสมัครสาธารณสุขมีความรู้และมีทักษะ ในการติดตามและเฝ้าระวังสุขภาพเด็กเล็กในชุมชน
3. เด็กเล็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการสูงดีสมส่วน เลือดไม่ซีด พัฒนาการสมวัย